คิดเชื่อม ?ขั้วตรงข้าม? สลายความขัดแย้ง

ในเรื่องที่มีความขัดแย้งกัน เรื่องที่เรามีอคติไม่ยอมรับ คิดว่าเป็นไปไม่ได้ ไม่จริง ทางออกหนึ่งในการแก้ปัญหา นั่นคือ ให้เราลองเปิดใจออก แล้วขยายกรอบความคิดเพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่ความขัดแย้งจะประสานกันได้
ผมได้นำเสนอไว้ในหนังสือการคิดเชิงบูรณาการ หนึ่งในหนังสือชุดการคิดสิบมิติ ไว้ว่า เราสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความคิดที่ยึดติดกรอบ ขาดความสร้างสรรค์ ได้ด้วยการฝึกคิดเชิงบูรณาการวิธีหนึ่งที่ได้แนะนำไว้คือ การสลายกรอบความคิดแบบขั้วตรงข้าม ในลักษณะของการยอมรับแนวคิดหนึ่งและปฏิเสธอีกแนวคิดหนึ่ง หรือเชื่อมั่นว่าแนวคิดหนึ่งจริง แนวคิดที่เหลือเป็นเท็จ โดยเปิดใจสร้างสะพานเชื่อมขั้วความคิดตรงข้าม หาความเป็นไปได้ในการประสานเชื่อมโยงทั้งสองขั้วที่ดูเหมือนมีความขัดแย้ง ไม่อาจลงรอยกันได้
ยกตัวอย่างเช่น ในสังคมของการทำงานในสำนักงาน เรายอมรับการนั่งทำงาน โดยมีโต๊ะ เก้าอี้ และอุปกรณ์สำนักงานที่จำเป็นต่าง ๆ คล้าย ๆ กันในแต่ละสำนักงาน แทบจะไม่มีใครคิดถึง ldquo;การนอนทำงานrdquo; ในสำนักงาน หากเราพูดถึงเรื่องนี้ เราอาจถูกต่อว่ากลับมาได้ว่าเป็นสิ่งที่ผิด ไม่ถูกต้อง เป็นเรื่องตลก เพราะเป็นเรื่องที่ไม่มีใครปฏิบัติกันในการทำงานในองค์กรทั่วไป
ในทางกลับกัน หากเราลองขยายความคิดของเรา ด้วยการหาความเป็นไปได้ของการนอนทำงานในสำนักงาน hellip;hellip;..
การลองคิดเช่นนี้เป็นการขยายขอบเขตความคิดของเราเพื่อให้สมองเชื่อมโยงค้นหาความเป็นไปได้ว่า เราควรนอนทำงานได้บ้างหรือไม่ สมองของเราอาจจะคิดถึงข้อดีของการนอน และข้อเสียของการนั่งทำงานนาน ๆ แล้วดึงส่วนที่จะใช้ประโยชน์ได้นำมาประสานเชื่อมโยง กลายเป็นคำตอบของความเป็นไปได้ว่า เราควรนอนทำงานหรือไม่ ในสถานการณ์ใดบ้าง ในรูปแบบอย่างไร
คำตอบที่เราคิดได้ เราอาจเห็นว่า การนอนอาจเหมาะในเวลาคิดโครงการใหม่ ๆ อ่านข้อมูล หรือคิดสร้างสรรค์งานต่าง ๆ ซึ่งอาจมีสัดส่วนการนอนประมาณ 20% ของเวลาทำงานทั้งหมด หากองค์กรยอมรับแนวคิดนี้ ผู้บริหารอาจเตรียมเก้าอี้ที่ปรับเอนได้ เพื่อให้พนักงานได้ผ่อนคลายในลักษณะกึ่งนั่งกึ่งนอน
หรือหากเราคิดได้ว่า การนอนทำงานอาจเหมาะสำหรับผู้พิการหรือคนที่บาดเจ็บ แต่ไม่ต้องการนอนพักอยู่เฉย ๆ เพราะยังสามารถทำงานได้ ยังสามารถใช้ความคิดได้อยู่ เมื่อคิดได้เช่นนี้ อาจผลักดันให้องค์กรยอมรับพนักงานที่ต้องการทำงาน แม้อยู่ในภาวะที่เดินทางมาทำงานลำบาก โดยอนุญาตให้ทำงานที่บ้านหรือโรงพยาบาลได้ เท่าที่เขาสามารถจะทำได้ อาจจะมีการจัดเตรียมมีที่นอนทำงานสำหรับคนป่วยที่สภาพร่างกายไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งเป็นการนอน 100% เป็นต้น
การคิดเชิงบูรณาการเป็นการขยายกรอบความคิดเพื่อหาความเป็นไปได้ในช่องว่างสีเทาตรงกลาง ซึ่งเราไม่เคยสร้างสะพานเชื่อมความคิดตรงข้ามนี้มาก่อน การประสานเชื่อมโยงกันอาจก่อให้เกิดแนวทางสร้างสรรค์และเห็นความเป็นไปได้ใหม่ ๆ นอกจากจะช่วยให้เราเห็นทางออกสร้างสรรค์ใหม่ ๆ แล้ว ยังช่วยให้เราสามารถจัดการความขัดแย้งด้วยวิธีคิดเดียวกัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สร้างสรรค์ เกิดผลดีต่อทุกฝ่ายด้วย
admin
เผยแพร่: 
งานวันนี้
เมื่อ: 
2008-06-12