เข้าถึงแก่นที่ไม่ขัดแย้ง เพื่อลบความขัดแย้ง

การคิดเชิงบูรณาการ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการจัดการความขัดแย้ง ผมได้วิเคราะห์ไว้ในหนังสือ การคิดเชิงบูรณาการ ว่า นักคิดเชิงบูรณาการจะขยายขอบเขตของความเป็นไปได้ในการหาทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาที่ทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์ (win-win approach) ครอบคลุมความพึงพอใจของทุก ๆ ฝ่าย หรือครอบคลุมปัญหาที่ซับซ้อนหลากหลายได้หมด ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตความคิดจากวิธีแก้ปัญหาทั่ว ๆ ไป
ทั้งนี้ หากวิเคราะห์วิธีแก้ปัญหาที่เรานิยมกัน นั่นคือ เรามักจะหาทางเลือก (choice) และการประนีประนอม (compromise) โดยคิดว่าวิธีนี้ ทั้งสองฝ่ายน่าจะพึงพอใจ แต่ในความเป็นจริง ทั้งสองแนวทางนี้อาจไม่นำไปสู่การแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
เสียงส่วนใหญ่ ยอมรับได้แต่ไม่พึงพอใจ การเลือกโดยเสียงส่วนใหญ่ตามระบอบประชาธิปไตย ทำให้เราต้องเลือกทางใดทางหนึ่งและทิ้งทางเลือกอื่น ๆ ที่เหลือ ทั้ง ๆ ที่ทางเลือกเหล่านั้นอาจมีส่วนที่เป็นประโยชน์ การหาทางเลือกทำให้เราต้องเสียประโยชน์ในสิ่งที่เราไม่ได้เลือกไป และอาจนำไปสู่ความขัดแย้งเพราะเมื่อเลือกทางเลือกหนึ่งย่อมทำให้เสียส่วนดีที่อาจมีอยู่ในทางเลือกอื่น ๆ ได้
ประนีประนอมอาจไม่คุ้มค่า ส่วนการประนีประนอมในลักษณะที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์บางส่วนและยอมเสียประโยชน์บางส่วน อาจนำไปสู่การสูญเสียทรัพยากรมากเกินไปโดยไม่จำเป็น และการประนีประนอมมักตัดสินตามอัตวิสัยหรือความต้องการของแต่ละบุคคล ในบางความต้องการอาจไม่สำคัญและสามารถหาทางเลือกอื่นทดแทนได้ จึงมักไม่ได้นำไปสู่ผลลัพธ์ภาพรวมที่น่าพึงพอใจสูงสุด
นักคิดเชิงบูรณาการจะขยายมุมมองสู่การแก้ปัญหาที่ทุกฝ่ายจะได้รับมากกว่าเสีย ก่อให้เกิดเอกภาพมากกว่าความขัดแย้ง โดยพยายามหา ldquo;ตัวร่วมrdquo; ครอบคลุมความแตกต่างหลากหลาย กลายเป็นทางเลือกใหม่ที่ครอบคลุมทุก ๆ ทางเลือก อันจะช่วยให้ทุกฝ่ายได้รับความพึงพอใจมากกว่า
การขยายกรอบความคิดเพื่อให้สามารถบูรณาการทางเลือกที่แตกต่างได้ จะต้องพยายามเข้าถึง ldquo;แก่นที่ไม่มีความขัดแย้งrdquo; ซึ่งอยู่ในลักษณะภายนอกที่อาจแตกต่างกัน เป็นการขยายกรอบความคิดของเราที่อาจถูกจำกัดด้วยการมองเพียงภายนอก เมื่อเห็นความแตกต่างย่อมนำไปสู่การเลือกสิ่งหนึ่งและปฏิเสธอีกสิ่งหนึ่งหรือสิ่งที่เหลือทั้งหมด การคิดเชิงบูรณาการจึงพยายามเข้าถึงแก่นของความขัดแย้ง เพื่อให้เห็นส่วนที่สามารถนำมารวมกันได้ แล้วจึงนำส่วนที่สามารถเข้ากันได้นั้นมารวมกัน
คู่แต่งงานใหม่คู่หนึ่งกำลังวางแผนที่จะเดินทางไปฮันนีมูนแต่ทั้งคู่มีความเห็นที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับสถานที่ที่จะไปท่องเที่ยวด้วยกัน โดยสามียืนกรานว่าตนเองอยากไปเที่ยวภูเขา ในขณะที่ฝ่ายหญิงต้องการไปชายทะเลเราจะแนะนำสามีภรรยาคู่นี้อย่างไร โดยที่มีเงื่อนไขว่าต้องไม่มีฝ่ายใดที่ต้องไปฮันนีมูนในที่ที่ตนเองไม่ชอบทั้งคู่ต้องไม่แยกกันไปท่องเที่ยว และต้องไม่เป็นการไปเที่ยวอย่างละครึ่ง
คำตอบ คือ
นำทั้งสองเข้าสู่การค้นหา ldquo;แก่นที่ไม่มีความขัดแย้งrdquo; โดยการพิจารณาถึงเหตุผลเบื้องหลังความต้องการของทั้งคู่ ด้วยการตั้งคำถามว่า
ldquo;เหตุใดhellip;.?rdquo;
คำตอบที่ได้รับจะสะท้อนความต้องการที่แท้จริงของทั้งสองฝ่าย ซึ่งอาจช่วยนำไปสู่การหาทางเลือกเชิงบูรณาการ ที่สามารถสร้างความพึงพอใจแก่ทั้งสองฝ่ายได้โดยไม่ต้องมีปัญหาระหว่างกัน
ถามสามี ldquo;เหตุใดคุณจึงต้องการไปภูเขา?rdquo;
สามีตอบhellip;rdquo;ผมต้องการอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ในที่ห่างไกลผู้คนและชุมชนrdquo;
ถามภรรยา ldquo;เหตุใดเธอจึงต้องการไปทะเล?rdquo;
ภรรยาตอบhellip;rdquo;ฉันชอบธรรมชาติที่เปิดกว้าง มองไปไกลได้สุดขอบฟ้าrdquo;
ลองพิจารณาคำตอบ เราสามารถหาทางเลือกที่สร้างความพึงพอใจให้กับทั้งสองคนได้หรือไม่
เสนอว่าทั้งสองควรไปที่hellip;hellip;hellip;
เราไม่ควรติดกับดัก ความต้องการแรกของทั้งสองคนที่ต้องการไป ภูเขา และ ทะเล แต่พิจารณาความต้องการลึก ๆ ของแต่ละคน
จากนั้น ให้หาทางออกที่ตอบสนองความต้องการของทั้งสองคนได้ เป็นทางเลือกที่บูรณาการความต้องการของทั้งสองคนเข้าด้วยกัน โดยหาสถานที่ที่จะสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับคนทั้งสองได้ เช่น ข้อแนะนำของเราอาจจะเสนอให้เขาไปพักผ่อนในแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นทุ่งหญ้ากว้างในชนบทที่ห่างไกลซึ่งเป็นทางเลือกที่ไม่ต้องประนีประนอม แต่ทั้งสองฝ่ายยังได้สิ่งที่ตนเองต้องการ
การขยายกรอบความคิดนับเป็นส่วนสำคัญของการคิดเชิงบูรณาการ เป็นการเรียนรู้ที่จะให้สมองปลดปล่อยศักยภาพเชิงบูรณาการออกมา แทนการถูกจำกัดด้วยกรอบความคิดเดิม กรอบความคิดที่ขยายออกจะช่วยให้เรามองเห็นเรื่องนั้นอย่างครบถ้วน เห็นความเป็นไปได้ใหม่ เห็นแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับโลกที่เปลี่ยนแปลงและซับซ้อนเช่นในปัจจุบัน
admin
เผยแพร่: 
งานวันนี้
เมื่อ: 
2008-06-03