มุมปกติของความขัดแย้ง

ผมมีเรื่องเล่าอยู่ 3 เรื่อง
เรื่องที่ 1 เรื่องนี้หลายท่านคงมีประสบการณ์....เคยหรือไม่ ตั้งนาฬิกาไว้ว่าต้องตื่น 6 โมง เพราะมีประชุมตอน 8.30 น. แต่เมื่อเสียงนาฬิกาปลุกดังขึ้น ....เรากลับกลายเป็นเหมือนมี 2 คนในร่างเดียวกัน....คนที่ 1: อย่าเพิ่งตื่นเลย นอนต่ออีกหน่อย คนที่ 2: ตื่นเดี๋ยวนี้นะ เดี๋ยวก็ไปไม่ทันหรอก คนที่ 1: ไปสายหน่อยก็ได้น่า นอนต่อเถอะ คนที่ 2: ไม่ได้นะ เรายังไม่ได้เตรียมเอกสารสำหรับประชุมเลย คนที่ 1:....นิ่งไปสักพักหนึ่ง..โอเค ตื่นก็ตื่น
จากนั้น เราจึงลุกขึ้น สองความคิดที่แตกต่างกลายเป็นหนึ่งเดียวกัน ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราตัดสินใจนอนต่อไป ย่อมต้องเกิดปัญหาตามมาแน่!
เรื่องที่ 2 ณ หน่วยงานแห่งหนึ่ง วันหนึ่งมีพนักงานใหม่เข้ามาทำงาน เห็นได้ชัดว่า ldquo;ไฟแรงrdquo; ไม่เพียงแต่ทำงานอย่างกระตือรือร้น ยังชอบที่จะเสนอความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะทุกครั้งที่มีการประชุม เดิมไม่มีใครกล้าโต้แย้งความคิดเห็นของหัวหน้าเลย แต่น้องใหม่คนนี้ กลับยกมือแสดงความไม่เห็นด้วยและเสนอแนะทางออกที่คิดว่าน่าจะเหมาะสมกว่า ...น่าเสียดายที่น้องใหม่คนนี้ทำงานอยู่ได้ไม่นาน เพราะถูกมองว่า อวดดี ไม่นอบน้อม ไม่เชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชาและเป็นแบบอย่างไม่ดีให้กับพนักงานคนอื่นทำให้เกิดความกระด้างกระเดื่องต่อหัวหน้างาน
เขาถูกบีบคั้นด้วยสายตาที่เย็นชาของหัวหน้างาน การแกล้งไม่ฟัง/ตัดบทเมื่อเขาเสนอความเห็น และที่สำคัญ แทนที่เขาจะได้รับผิดชอบงานสำคัญ ๆ งานคิดริเริ่มใหม่ ๆ กลับได้รับมอบงานประจำที่น่าเบื่อ วัน ๆ แทบจะไม่ได้ทำอะไรเลย ...ในที่สุด เขาจึงตัดสินใจลาออก
ทว่า...น่าเสียดาย หน่วยงานที่เขาลาออกมานั้น เป็นหน่วยงานที่เรียกได้ว่า ldquo;ไร้ความเจริญrdquo; อันเนื่องมาจากหัวหน้างาน ldquo;อาวุโสนิยมrdquo; ที่ปิดประตูเรียนรู้จากผู้อ่อนวัยกว่า
เรื่องที่ 3 มีคนงานเหมืองคนหนึ่ง โดยปกติเขาจะเก็บชุดทำงานและรองเท้าบู๊ตไว้ในตะกร้าที่แขวนไว้กับเพดานในห้องแต่งตัวเมื่อเสร็จสิ้นการทำงานในแต่ละวัน
วันหนึ่งคนงานเหมืองผู้นี้พบว่ารองเท้าบู๊ตที่เขาต้องใส่ทำงานหายไปจากตะกร้า ด้วยอารมณ์โกรธเขารีบวิ่งไปหาหัวหน้างาน โวยวายเสียงดังว่า ldquo;ใครไม่รู้ขโมยรองเท้าของผมไป มันไม่ยุติธรรมเลย ผมต้องเสียทั้งรองเท้าและค่าแรงวันนี้ เป็นเพราะบริษัทไม่สามารถดูแลรักษาทรัพย์สินให้ผมได้rdquo;
หัวหน้างานสวนกลับด้วยความโมโห ldquo;บริษัทเรามีกฎระเบียบอยู่แล้วว่าจะไม่รับผิดชอบทรัพย์สินส่วนตัวของใครที่มาทิ้งไว้ที่ทำงานบริษัท รู้จักอ่านกฎระเบียบของเหมืองเสียบ้างนะrdquo;
คนงานเหมืองได้ฟังคำพูดที่ขาดความเห็นใจเช่นนั้น จึงตอบโต้กลับไปด้วยอารมณ์ฉุนเฉียวว่า ldquo;ในเมื่อคุณไม่สนใจในความเดือดร้อนของผมแล้วเราจะได้เห็นดีกัน ถ้าผมไม่ได้ทำงานก็ดูซิว่าใครจะทำงานให้คุณบ้างrdquo;
ภายหลังที่ผู้จัดการเหมืองได้รับทราบปัญหาดังกล่าว จึงพูดว่า ldquo;ผมเคยมีประสบการณ์ที่คนงานเหมืองทำรองเท้าหายและมาร้องเรียนกับผม ผมแก้ปัญหาโดยให้เขายืมรองเท้า และสัญญาว่าจะซื้อรองเท้าบู๊ตใหม่ให้ คนงานเหมืองก็พอใจ และกลับเข้าทำงานตามปกติrdquo;
ตัวอย่างทั้งสามเรื่องนี้ สะท้อนให้เห็นถึง 2 สิ่ง นั่นคือ
ความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องธรรมดา ความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ทุกวัน ตั้งแต่ในตัวเราเองคนเดียว ในครอบครัว ในองค์กร ในชุมชน ในประเทศ หรือในระหว่างประเทศ เรียกได้ว่า ที่ไหนมีคนที่มี ldquo;ความคิดrdquo; เป็นของตนเอง ที่นั่นย่อมมีความขัดแย้ง ความขัดแย้งเป็นเรื่องของความเห็น ความเชื่อที่ต่างกัน แม้ในตัวเราเอง คงปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกคนคงเคยเถียงกับตัวเองบ่อยครั้ง
การจัดการความขัดแย้งอย่างถูกต้องจะก่อให้เกิดผลดี ความขัดแย้งไม่ใช่สิ่งเลวร้ายเสมอไป ขึ้นอยู่กับมุมมองและความสามารถในการจัดการ ในบางครั้งในบางสถานการณ์เราจะใช้วิธีตัดสินแบบถูก-ผิด โดยอ้างกฎระเบียบอย่างเดียวคงไม่เพียงพอหรือใช้อำนาจตามบทบาทหน้าที่ตัดสินปัญหาตามมุมมองของเราเพียงอย่างเดียว โดยขาดการตระหนักถึงมุมมองของผู้อื่น อาจจะทำให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้น
ในเรื่องเล่าที่ 2 และ 3 สะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์จากการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่แตกต่างกัน ถ้าเราจัดการความขัดแย้งอย่างไม่ถูกต้องย่อมเกิดผลเสีย ในทางกลับกัน หากเราจัดการอย่างถูกต้องย่อมเกิดผลดีตามมา
ดังนั้น เราจึงควรเรียนรู้ว่าในแต่ละสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้น เราควรใช้วิธีการแบบใดในการแก้ไขปัญหา เพื่อจะช่วยให้เราสามารถแก้ไขความขัดแย้งได้อย่างสัมฤทธิ์ผล และเกิดผลกระทบด้านลบต่อทุกฝ่ายน้อยที่สุด
admin
เผยแพร่: 
งานวันนี้
เมื่อ: 
2008-05-14