รื้อฟื้นกรุงเทพฯ ให้ ?มั่งคั่ง? ทางวัฒนธรรม

การพัฒนาให้กรุงเทพฯเป็นเมืองน่าอยู่ มิติหนึ่งที่สำคัญมากในการพัฒนา ได้แก่ มิติวัฒนธรรม ทั้งนี้เพราะ วัฒนธรรมสะท้อนว่า เราเป็นเช่นไร ดี หรือ ไม่ดี เจริญ หรือ เสื่อมถอย อย่างไร
วัฒนธรรม ไม่ใช่ การอนุรักษ์ของเก่า แต่เป็น ldquo;วิถีชีวิตrdquo; ของคนในสังคม การหยั่งรากของวัฒนธรรมที่ดีงาม สืบสานจากรุ่นสู่รุ่นจะช่วยทำให้สังคมนั้นเจริญได้อย่างยั่งยืน ในทางตรงกันข้าม หากเราปล่อยให้กระแสอิทธิพลภายนอกขับเคลื่อน เราอาจจะต้องเข้าสู่ภาวะ ldquo;ถดถอยrdquo; ทางวัฒนธรรม จากการรับวิถีการดำเนินชีวิต วิธีคิด วิธีปฏิบัติ มาจากภายนอกตามอิทธิพลของสื่อและวัฒนธรรมสากลต่าง ๆ อันจะทำให้เราขาดการหยั่งรากทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์และเหมาะสมในการดำเนินชีวิตตามแบบของเราเอง
กรุงเทพฯ ได้รับการสถาปนาเป็นเมืองหลวง เป็นเวลาถึง 226 ปี (ตั้งแต่ พ.ศ. 2325) เป็นมหานครที่บรรจุความโดดเด่นไว้มากมาย ประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี ทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางวัฒนธรรม ทั้งสิ่งที่เคยรุ่งเรืองมาแต่ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นศิลปะ ประเพณี ประวัติศาสตร์ โบราณคดีต่าง ๆ และขณะเดียวกัน ปัจจุบัน ได้กลายเป็นศูนย์กลางความเจริญและความทันสมัยในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิทยาการความรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ตลอดจนวัฒนธรรมและค่านิยมสมัยใหม่จากประเทศที่พัฒนาแล้ว
กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ผสมผสานทั้ง ldquo;ความเก่าrdquo; hellip;การหยั่งรากลึกทางวัฒนธรรมและ ldquo;ความใหม่rdquo; hellip;การก้าวตามความทันสมัยด้านต่าง ๆ จากต่างประเทศ
ผมคิดว่า กรุงเทพฯ ในฐานะเมืองหลวง หรือ ldquo;หัวใจrdquo; ของคนทั้งประเทศ และเปรียบเสมือน ldquo;หน้าตาrdquo; ที่ฉายออกไปสู่คนทั้งโลก เราจำเป็นต้องสร้างเมืองของเราให้เป็น ldquo;เมืองแห่งความมั่งคั่งทางวัฒนธรรมrdquo; มีความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรม มีการอนุรักษ์ สืบสาน และต่อยอดทางวัฒนธรรม มีการส่งเสริม ปลูกฝังวัฒนธรรมใหม่ที่ดีงาม และมีการใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมในเชิงเศรษฐกิจ
กรุงเทพฯ ควรมีวิสัยทัศน์การพัฒนาวัฒนธรรมครบถ้วน 3 ด้าน คือ สืบสานมรดกทางวัฒนธรรม สร้างเสริมวัฒนธรรมที่ดีงาม และ สนับสนุนเพิ่มทุนทางวัฒนธรรม
สืบสาน ndash; มรดกทางวัฒนธรรม ในหนังสือ กรุงเทพเมืองน่าอยู่ ผมได้สื่อสารความปรารถนา อยากให้ ldquo;ทุกสิ่งที่ดีในอดีตที่หายไป กลับคืนมาrdquo; ไม่เพียงเท่านั้น ผมอยากให้สิ่งดีเหล่านั้นได้สืบทอดสู่คนรุ่นลูก รุ่นหลานต่อไปด้วย
ทุกสิ่งที่ดี ในความหมายของผม หมายถึง ทุกสิ่งในกรุงเทพฯที่มีเอกลักษณ์ มีคุณค่า และมีศักยภาพ เพียงพอที่จะรื้อฟื้นกลับมาใหม่ให้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนเมืองได้ เช่น วิถีชีวิตริมน้ำ ศิลปะบันเทิง การดูแลสุขภาพโดยวิถีไทย การละเล่นต่าง ๆ ศิลปะป้องกันตัว การทำอาหาร เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งดีที่แสดง ldquo;เอกลักษณ์rdquo; แห่งยุคสมัยซึ่งเราสามารถค้นหาและรื้อฟื้น นำกลับมาใหม่ได้
การที่จะรื้อฟื้นวัฒนธรรมเหล่านี้อย่างเป็นรูปธรรม ผมเสนอว่า กทม.ควรมีการจัดตั้ง ldquo;ศูนย์ Ramp;D ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา กทม.rdquo; ทำหน้าที่ ldquo;สืบค้นrdquo; และ ldquo;คัดสรรrdquo; วัฒนธรรม พิจารณาว่านำมาใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง เพื่อกำหนดแนวทาง รื้อฟื้นกลับมาให้มีคุณค่าต่อไป โดยส่งเสริมการประยุกต์ให้ร่วมสมัย หาทางนำมาใช้ประโยชน์อื่น เช่น การรำดาบประยุกต์ใช้เป็นท่ารำ เพื่อออกกำลังกาย การร้องเพลงไทยเดิม อาจมีการนำมาศึกษาประโยชน์ทางการแพทย์ เป็นต้น
สร้างเสริม ndash; วัฒนธรรมที่ดีงาม การสร้างเสริมวัฒนธรรมที่ดีงาม ในที่นี้ ให้คุณค่าในเรื่องเกี่ยวกับ วิธีคิด ค่านิยม ทัศนคติ ลักษณะนิสัย แบบแผนความประพฤติ ที่ดีงาม สะท้อนจิตสำนึกที่ดี มีคุณธรรม โดยเน้นทั้งในเรื่องของการ ldquo;รื้อฟื้นrdquo; และการ ldquo;สร้างrdquo; วัฒนธรรมใหม่ ๆ ที่ยังขาดอยู่ อันได้แก่ ความมีน้ำใจ การมีจิตสาธารณะ การรักความสะอาด การมีวินัย การเคารพกฎระเบียบของบ้านเมือง การเห็นคุณค่าสิ่งแวดล้อม
แนวทางที่ทำได้ยกตัวอย่างเช่น ผมตระหนักว่า ท้องถิ่นจะเจริญได้ คนในพื้นที่ต้องมี ldquo;จิตสาธารณะrdquo; แนวทางหนึ่งผมพยายามทำมาตลอด 15 ปี นั่นคือ การจัดตั้งกองทุนเวลาเพื่อสังคม จุดมุ่งหมายเพื่อให้คนมีส่วนร่วมเสียสละในการทำสิ่งที่ดีแก่ผู้อื่นและสังคมซึ่งแนวคิดนี้ทาง กทม.น่าจะส่งเสริมให้คนกรุงเทพฯมีส่วนช่วยพัฒนา กทม.ให้น่าอยู่ โดยอาจจัดตั้ง ldquo;กองทุนเวลาเพื่อกรุงเทพฯน่าอยู่rdquo; ขึ้น เป็นการแปรรูปน้ำใจคนเมืองเป็นการทำสิ่งดีอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นช่องทางส่งเสริมวัฒนธรรมรักการทำดี
สนับสนุน ndash; เพิ่มทุนทางวัฒนธรรม ผมเสนอว่า วัฒนธรรมต้องเป็น ldquo;ทุนrdquo; จึงสามารถอยู่ได้ การส่งเสริมให้วัฒนธรรมเป็นทุน จะช่วยให้วัฒนธรรมนั้นอยู่ได้ตามกลไกตลาด และสามารถพัฒนาต่อยอดต่อไปได้เรื่อย ๆ เช่น เราสามารถรื้อฟื้น ldquo;หมู่บ้านริมน้ำrdquo; โดยอาจจำลองสภาพแบบนั้น ในที่ใดที่หนึ่งในกรุงเทพฯ เพื่อทำเป็นรีสอร์ต หรือสถานที่จำลองให้คนรุ่นหลังได้เข้าชม และเราอาจส่งเสริม ชุมชนริมน้ำ โดยเข้าไปจัดระบบทำให้บ้านน่าอยู่ ลำคลองสะอาดสะอ้าน เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว และส่งเสริมให้ชาวบ้านแบ่งพื้นที่ทำเป็น โฮมสเตย์ ช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้พร้อม ๆ กับช่วยอนุรักษ์ไปด้วย
ที่สำคัญ ผมเสนอว่า วิสัยทัศน์ประการหนึ่งที่กรุงเทพมหานครควรจะมี นั่นคือ วิสัยทัศน์ที่จะทำให้เมืองหลวงแห่งนี้ เป็นเมืองที่คนต่างชาติต้องการเดินทางมาท่องเที่ยวเป็นอันดับ 1 ของโลก วิสัยทัศน์นี้จะส่งผลให้ผู้รับผิดชอบเกิดความกระตือรือร้นในการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่อย่างครบถ้วนทุกด้าน รวมทั้งในด้านวัฒนธรรมด้วย อาทิ ความสะดวกสบาย ทั้งในเรื่องของการเดินทาง ที่พักอาศัย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความสะอาดของอาหารและน้ำดื่ม ความสวยงามของเมืองถนนหนทาง ทางเดิน แม่น้ำลำคลอง การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีคุณภาพ ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น
ความมั่งคั่งทางวัฒนธรรมของกรุงเทพฯ แม้กาลเวลาแห่งยุคสมัยได้ผ่านไป แต่ ldquo;คุณค่าrdquo; กลับเพิ่มทวีคูณ หากเราตั้งใจรื้อฟื้นให้หวนกลับมามีชีวิตชีวา เริงโลดอยู่ในวิถีชีวิตของผู้คนที่นี่อีกครั้งและสืบสานสู่คนรุ่นต่อ ๆ ไป
* นำมาจากหนังสือพิมพ์โลกวันนี้ ฉบับวันศุกร์ที่ 25 เมษายน 2551
admin
เผยแพร่: 
0
เมื่อ: 
2008-04-27