ทำอย่างไรให้ได้งาน

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้ประมาณการว่า ในปีการศึกษา 2551 มีผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 303,163 คน บัณฑิตเหล่านี้ได้ก้าวพ้นจากวัยเรียนเข้าสู่วัยทำงาน ซึ่งเป็นช่วงสำคัญของชีวิตช่วงหนึ่ง ที่ไม่เพียงบัณฑิตต้อง ldquo;เลือกrdquo; ว่าจะเดินเส้นทางใด แต่เป็นเวลาแห่งการรอคอยด้วยว่าจะ ldquo;ได้รับคัดเลือกrdquo; จากหน่วยงานหรือองค์กรที่ไปสมัครงานหรือไม่
บัณฑิตทุกท่านควรระลึกไว้เสมอว่า ldquo;ชัยชนะมักจะเป็นของผู้ที่เตรียมพร้อมดีกว่าเสมอrdquo; เพราะแต่ละปีมีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษาต่าง ๆ จำนวนมาก บัณฑิตเหล่านี้ถือว่ายังเป็นมือสมัครเล่นในกลุ่มคนวัยทำงาน ขาดประสบการณ์ในการเตรียมพร้อมเพื่อเข้าสมัครงาน แม้มีความสามารถ ศักยภาพ ซึ่งน่าจะตรงกับความต้องการของหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ แต่หากขาดคำแนะนำที่ตรงจุด ก็อาจพลาดจากงานที่ดี รวมถึง หน่วยงานหรือองค์กรนั้น ๆ อาจได้พนักงานที่ไม่มีคุณภาพเข้าไปร่วมงาน
ปัญหาหนึ่งที่พบบ่อยคือ ldquo;การเปลี่ยนงานบ่อยrdquo; ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ อาทิ บัณฑิตยื่นใบสมัครไปหลายแห่งโดยไม่ได้พิจารณาตำแหน่งงาน ลักษณะงาน หรือวัฒนธรรมองค์กร ว่าเหมาะกับตนเองหรือไม่ เมื่อเข้าไปทำงานแล้วจึงพบว่าไม่ตรงกับความชอบ ความถนัด อีกทั้ง งานบางอย่างยากเกินไป แต่ไม่สามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างรวดเร็วก่อให้เกิดความเครียด ท้อแท้ ไม่มีความสุขกับงานที่ทำ บางคนอาจพิจารณาเพียงเพื่อได้อัตราเงินเดือนที่สูง โดยอาจลืมไปว่า เงินเดือนมาก ความรับผิดชอบก็จะมากตามไปด้วย ต้องทุ่มเทให้งานมากกว่าปกติ อาจต้องทำงานล่วงเวลาบ่อยครั้ง จนกระทบการใช้เวลากับครอบครัว และเปลี่ยนงานใหม่ในที่สุด
ในฐานะผู้บริหารในองค์กรหลายแห่ง ผมปรารถนารับคนที่เหมาะสมเข้ามาร่วมงานที่สอดคล้องกับตำแหน่ง แต่ที่ผ่านมาผู้สมัครมักมีปัญหาสำคัญ ได้แก่ ผู้สมัครไม่ผ่านการสัมภาษณ์ อาจมีบุคลิกบางอย่างหรือไม่สามารถตอบคำถามสำคัญในบางเรื่องได้ หรือ แม้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือก จำนวนไม่น้อยพอทำงานไปได้สักระยะมักจะขอลาออก เพราะตัวเองไม่เหมาะกับงานที่ทำ ทั้ง ๆ ที่เรื่องเหล่านี้สามารถเตรียมพร้อมล่วงหน้าก่อนมาสมัครงานได้
ดังนั้น ในบทความนี้ผมจึงต้องการเสนอแนะแนวทางที่ทำให้บัณฑิตทุกท่านสามารถพบ ldquo;งานที่ชอบ ดังนี้rdquo;และมีโอกาสได้ ldquo;รับเลือกrdquo; จากหน่วยงานหรือองค์กรที่ต้องการเข้าทำงาน และในตำแหน่งที่ต้องการ
ตอบคำถามให้ได้ว่า ldquo;ทำไมงานนี้ถึงเหมาะกับเรา?rdquo; ก่อนอื่นบัณฑิตใหม่ต้องค้นหาและนำเสนอจุดเด่นของตนเองออกมาให้ได้ ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างมากเราต้องคิดว่า จะทำอย่างไรที่ผู้สัมภาษณ์จะเชื่อว่า งานนี้ต้องเป็น ldquo;เราrdquo; เท่านั้น ทุกองค์กรต่างต้องการผู้ร่วมงานที่มีความรู้ ความสามารถเข้าทำงานในองค์กร เพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนอย่างคุ้มค่า เราอาจถามคำถามเหล่านี้กับตัวเอง เช่น ทำไมงานนี้จึงต้องเป็นเรา? เราทำงานนี้ได้ดีกว่าคนอื่นตรงไหน? ทำไมเขาต้องเลือกเราด้วย? เราไม่ควรคิดเพียงว่า ldquo;เราจบจากสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง ได้เกรดสูงในสาขาวิชาที่ตรงกับงาน เท่านี้คงเพียงพอที่เขาจะเลือกเราแล้วrdquo; แต่ควรพิจารณาคุณสมบัติด้านอื่น ๆ อย่างครบถ้วน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่างานนี้เหมาะสมกับเรามากที่สุด สิ่งที่เราสามารถเตรียมตัวไว้ล่วงหน้าได้ คือ ศึกษาลักษณะงาน ศึกษาตำแหน่งที่เลือกอย่างละเอียดว่า ต้องทำอะไรบ้าง เปรียบเทียบกัน นำลักษณะงานในตำแหน่งที่เลือก มาเปรียบเทียบกับคุณสมบัติ ความสามารถ ความถนัด ประสบการณ์ เช่น ทักษะการติดต่อสื่อสารภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ ทักษะคอมพิวเตอร์ ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการบริหารจัดการทักษะการทำงานเป็นทีม เป็นต้น เพื่อประเมินว่างานที่เหมาะกับเราหรือไม่
ตอบคำถามให้ได้ว่า ldquo;ลักษณะชีวิตสอดคล้องกับงานที่ต้องการหรือไม่?rdquo; บัณฑิตใหม่ควรพิจารณาถึงลักษณะชีวิตที่เหมาะสมกับงานที่ต้องการทำ อาทิ ความมีมนุษยสัมพันธ์ดี การมีภาวะผู้นำ มีความอดทน ฯลฯ จากรายงานการวิจัยเรื่อง ldquo;ผลการศึกษาความต้องการกำลังคนของกลุ่มอุตสาหรรมrdquo; (2549) โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) พบว่า ลักษณะชีวิตที่เป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการคือ เป็นผู้ที่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีคุณธรรม จรรยาบรรณที่จำเป็นสำหรับการทำงาน ซื่อสัตย์ จงรักภักดี อดทน ขยันหมั่นเพียร มีความละเอียด รับผิดชอบต่อหน้าที่ ตรงต่อเวลา เสียสละและทุ่มเทในการทำงาน มีวินัย กระตือรือร้น มีวุฒิภาวะ มุ่งมั่น คิดแง่บวก มุ่งความสำเร็จ ใฝ่รู้ มีภาวะผู้นำ เป็นต้น แน่นอนว่าไม่มีใครมีคุณสมบัติที่ครบถ้วน แต่ใช่ว่าพัฒนาไม่ได้ หากบัณฑิตขาดลักษณะชีวิตบางด้านที่เหมาะสมกับงานที่ต้องการทำ แต่ต้องการทำงานนี้มาก ควรตัดสินใจที่จะฝึกตนเองให้มีลักษณะชีวิตดังกล่าว
ที่สำคัญ เป้าหมายของการสมัครงานทุกครั้ง ไม่ควรมีเป้าหมายเพื่อให้ได้งานเร็วและเงินเดือนดีเท่านั้น แต่ควรจำไว้ว่า การทำงานคือการใช้ชีวิต หากเราต้องการทำงานอย่างมีความสุข ควรเลือกงานที่เราอยากทำ มีความถนัด หรือแม้ไม่ถนัดนักก็สามารถพัฒนาได้ ควรเลือกองค์กรหรือหน่วยงานที่พึงพอใจจริง ๆ เพื่อการทุ่มเทในการทำงานอย่างเต็มที่ และช่วยให้บัณฑิตไม่ต้องเสียใจภายหลัง เพราะต้องฝืนทำในสิ่งที่ไม่ชอบหรือไม่ถนัด เพียงเพื่อแลกกับรายได้
ผมได้เขียนหนังสือเรื่อง ldquo;นายเลือกกบrdquo; มีข้อแนะนำง่าย ๆ ที่นิสิต นักศึกษา และผู้ที่ต้องการหางานใหม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง หนังสือเล่มนี้ตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการประสบความสำเร็จในการสมัครงาน ซึ่งสาระสำคัญของหนังสือเล่มนี้ เคล็ดลับ 7 ประการ ได้แก่ การเตรียมความพร้อมก่อนสมัครงาน การค้นหาและนำเสนอจุดเด่นของตน การเตรียมพร้อมก่อนยื่นใบสมัคร เทคนิคการซักซ้อมก่อนสัมภาษณ์ การแต่งกายและบุคลิกภาพที่เหมาะสม การป้องกันความผิดพลาดในวันเดินทาง และข้อควรจำในวันสัมภาษณ์ ผมขอเป็นกำลังใจและเอาใจช่วยผู้เรียนทุกท่าน ให้ประสบความสำเร็จในก้าวแรกของงานที่ตนรัก
admin
เผยแพร่: 
การศึกษาวันนี้
เมื่อ: 
2008-03-17