พิเคราะห์รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550

เกริ่นนำ
 
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ถือได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นกฎหมายสูงสุดที่ประชาชน จำนวน 14.7 ล้านคน เห็นชอบผ่านการลงประชามติที่ผ่านมา และเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้เวลาในการยกร่างประมาณ 6 เดือน โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) พยายามที่จะแก้ปัญหาจากผลของการปฏิบัติใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา อาทิ สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทยบางประการที่ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง องค์กรอิสระถูกแทรกแซงและไม่เป็นกลางในการทำงาน การขาดคุณธรรมจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมถึงการไม่สามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้
บทความชิ้นนี้ มุ่งศึกษาเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ว่ามีการเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม หรือแตกต่างจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 อย่างไร โดยยึดสาระสำคัญในเรื่อง 1. การคุ้มครองส่งเสริม ขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชน 2. การลดการผูกขาดอำนาจรัฐ และขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม 3. การทำให้การเมืองโปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรม 4. การทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็ง ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
 
ประเด็นที่ 1 การคุ้มครองส่งเสริม ขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
 
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มีการเพิ่มสิทธิและเสรีภาพให้กับประชาชนหลายประการ เมื่อเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ดังนี้
1) หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย จัดเนื้อหาเป็น 13 ส่วน
ในหมวด 3 ว่าด้วยเรื่องสิทธิและเสรีภาพชนชาวไทย มีการขยายเป็น 44 มาตรา (มาตรา 26-69) จากเดิมในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ที่มีจำนวน 40 มาตรา และมีการจัดเป็น 13 ส่วน ได้แก่ 1.บททั่วไป 2.ความเสมอภาค 3.สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล 4.สิทธิในกระบวนการยุติธรรม 5.สิทธิในทรัพย์สิน 6.สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ 7.เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน 8.สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา 9. สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ 10.สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน 11. เสรีภาพในการชุมนุมและการสมาคม 12.สิทธิชุมชน และ 13.สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
ประเด็นนี้ การกำหนดหมวดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยโดยแบ่งเนื้อหาเป็น 13 ส่วน จะทำให้ประชาชนสามารถอ่านและเข้าใจรัฐธรรมนูญได้โดยง่ายมากกว่าการอ่านรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 โดยเฉพาะที่ทำให้เห็นความครอบคลุมของเนื้อหาและเกิดความชัดเจนด้านสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมากขึ้น ตั้งแต่สิทธิที่ประชาชนและชุมชนพึงได้รับในทางกฎหมาย ตลอดจนมีเสรีภาพในการดำเนินการต่าง ๆ และกิจกรรมทางการเมืองต่าง ๆ ตามที่กฎหมายได้บัญญัติเอาไว้
 
2) เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพ
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ได้เพิ่มบทบัญญัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพ เพิ่มขึ้นจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และทำให้การใช้สิทธิเสรีภาพมีประสิทธิภาพและมีมาตรการคุ้มครองอย่างชัดเจน ดังนี้
1. ให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิทางศาลเพื่อเรียกร้องให้รัฐปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพได้โดยตรง แม้จะยังไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ดังในม. 28 วรรคสอง ldquo;บุคคลย่อมใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวดนี้ได้โดยตรง...rdquo;
2. เพิ่มสิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรมและเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมครบถ้วน (ม.40)
3. เพิ่มสิทธิของบุคคลในการทำงานให้ปลอดภัย หลักประกันในการดำรงชีพระหว่างการทำงานและเมื่อพ้นการทำงานจากรัฐ (ม. 44)
4. คุ้มครองเด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว มีหลักประกันในการอยู่รอด และห้ามแทรกแซงหรือจำกัดสิทธิ (ม. 52)
5. เพิ่มสิทธิบุคคลแก่ผู้ไร้ที่อยู่โดยรัฐต้องช่วยเหลือ (ม. 55)
6. รัฐจัดให้มีการศึกษาให้กับผู้ยากไร้ ผู้พิการ เสมอภาคกับบุคคลอื่นไม่น้อยกว่า 12 ปี (ม. 49)
7. ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความเห็นต่อการดำเนินโครงการรัฐหากกระทบต่อคุณภาพ ชีวิต สิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย โดยรัฐต้องจัดให้รับฟังความเห็นก่อน (ม. 57)
8. คุ้มครองผู้บริโภคชัดเจน มีองค์การเพื่อการคุ้มครองที่เป็นอิสระและรัฐต้องสนับสนุนงบประมาณ (ม. 61)
9. ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ มีเสรีภาพในการรวมกลุ่ม ในการเจรจากับรัฐ (ม. 64)
10. ชุมชนและชุมชนท้องถิ่นมีสิทธิรวมตัวการอนุรักษ์ฟื้นฟูประเพณี และจัดการประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ (ม. 66) และสิทธิการฟ้องหน่วยราชการหากไม่ปฏิบัติตาม
11. เพิ่มสิทธิดูแลทรัพยากรธรรมชาติโดยรับฟังความคิดเห็นก่อน (ม. 67)
12. สิทธิประชาชนตรวจสอบการใช้อำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ม. 62)
13. คุ้มครองสิทธิที่รัฐจะสั่งห้ามหรือแทรกแซงเพื่อลิดรอนสิทธิเสรีภาพเสนอข่าวหรือความเห็นของหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนทุกประเภทมิได้ (ม. 45)
14. การตัดคำว่า ldquo;ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติrdquo; ออกจากท้ายบทบัญญัติที่เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพหลายมาตรา เพื่อส่งสัญญาณว่าสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเกิดขึ้นทันทีตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ตามกฎหมาย และบัญญัติสาระแห่งสิทธิเสรีภาพไว้ในเนื้อหาของแต่ละมาตราแทน ทำให้ลดข้อจำกัดในการบังคับใช้กฎหมายได้
กล่าวโดยสรุป การเพิ่มเติมสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่เพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นว่า รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ได้เห็นความสำคัญว่ารัฐธรรมนูญต้องเป็นรัฐธรรมนูญของประชาชนไม่ว่าจะเป็นเด็ก เยาวชน ผู้ยากไร้ ข้าราชการ ผู้ใช้แรงงาน ผู้พิการ หรือชุมชนท้องถิ่น ฯลฯ สามารถที่จะกำหนดชะตาชีวิตของตนเองได้ ตลอดจนได้รับการดูแลและช่วยเหลือจากรัฐ และขจัดเงื่อนไขที่จะเป็นอุปสรรคต่อการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชน กล่าวได้ว่า หมวดนี้ถือเป็นจุดแข็งของรัฐธรรมนูญฉบับนี้
 
3) มีการเพิ่มเติม ldquo;การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชนrdquo; โดยยกฐานะขึ้นเป็นอีกหมวด
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนมีความสำคัญต่ออนาคตสังคมการเมืองไทย ดังนั้น จึงมีการกำหนดให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรง ในหมวดที่ 7 ldquo;การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชนrdquo; ดังนี้
1. สิทธิในการเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อรัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (ม. 163) โดยลดจำนวนการเข้าชื่อจากเดิม 5 หมื่นรายชื่อ เหลือเพียง 1 หมื่นรายชื่อ และมีผู้แทนของประชาชนเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นได้จำนวน 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด
การกำหนดการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน จะทำให้การเมืองภาคประชาชนเกิดความตื่นตัวในการเสนอร่างกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่นและส่วนรวม และทำให้ร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยประชาชนได้ทำสะดวกยิ่งขึ้น อีกทั้งประชาชนสามารถเข้าชี้แจงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว และมีโอกาสที่จะผ่านออกมาเป็นกฎหมายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
2.สิทธิในการเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาให้ถอดถอนบุคคลที่ทุจริตต่อหน้าที่ออกจากตำแหน่งได้ (ม.270) โดยลดจำนวนการเข้าชื่อจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเดิม 5 หมื่นรายชื่อ เหลือเพียง 2 หมื่นรายชื่อ (ม. 164) ทั้งนี้ โดยประธานวุฒิสภาส่งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ดำเนินการไต่สวน และเสนอต่อวุฒิสภาว่าคำร้องมีมูลหรือไม่ และให้ดำเนินการต่อไปตามกฎหมายว่าด้วยการถอดถอนบุคคล
กล่าวได้ว่า การลดอุปสรรคการเข้าชื่อเพื่อเสนอถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง โดยเฉพาะการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน จะทำให้ภาคประชาชนมีความสนใจการเมืองโดยเฉพาะการติดตามและตรวจสอบการใช้อำนาจหน้าที่ของนักการเมืองว่าสุจริตและชอบธรรมหรือไม่
3. สิทธิในออกเสียงประชามติ ( ม. 165) ในกรณีที่กิจการมีผลกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศหรือประชาชน โดยนายกรัฐมนตรีปรึกษาและด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา เพื่อให้มีการออกเสียงประชามติได้
ส่วนการออกเสียงประชามติ สะท้อนให้เห็นว่าเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเมืองการปกครองมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการแสดงความคิดเห็นในลักษณะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ หรือเพื่อให้มีข้อยุติในทางใดทางหนึ่งที่เห็นว่ากิจการในเรื่องใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประชาชน
 
ประเด็นที่ 2 การผูกขาดอำนาจรัฐ และขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม
 
ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ได้พยายามลดการผูกขาดอำนาจรัฐและขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรมในหลายประเด็น อาทิ
1) การให้สิทธิประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองทางตรง (direct democracy) ได้ง่ายขึ้น อาทิ
ให้สิทธิประชาชน 10,000 รายชื่อ เสนอร่างกฎหมาย ผู้เสนอร่างเข้าไปชี้แจงหลักการเข้าไปเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่าง(ม.163)
ให้สิทธิประชาชน 20,000 รายชื่อ ร้องขอต่อประธานวุฒิสภา ให้ถอดถอนบุคคลตาม มาตรา 270[1] ออกจากตำแหน่งได้ (ม.164)
ให้สิทธิประชาชน 50,000 รายชื่อ เสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (ม.291)
ในเรื่องนี้สอดคล้องกับแนวคิดที่เสนอเป็นบทความและได้รวบรวมไว้ในหนังสือldquo;ปลดล็อกการเมืองไทย: ข้อเสนอรัฐธรรมนูญใหม่rdquo; เสนอว่า[2]
1. ควรลดเหลือ 10,000 คน ในการยื่นเสนอร่างกฎหมาย เพราะเห็นว่า ตัวแทนประชาชนกลุ่มต่าง ๆ กลุ่มอาชีพ คนกลุ่มน้อย หรือคนด้อยโอกาส อาจมีจำนวนไม่ถึง 50,000 รายชื่อ แต่การยื่นเสนอกฎหมายได้ง่ายด้วยตัวเลขดังกล่าว จะตัดเงื่อนไขอุปสรรคต่าง ๆ ออกไป เช่น เรื่องค่าใช้จ่าย ระยะเวลาในการรวบรวมรายชื่อ หลังจากนั้นจึงเป็นการพิจารณาดำเนินตามขั้นตอนทางกฎหมายที่กำหนดไว้
2. ควรลดเหลือ 20,000 คน ในการยื่นเสนอถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งประชาชนมีสิทธิเพียงการยื่นเสนอให้ถอดถอนเท่านั้น ไม่สามารถมีอำนาจบังคับใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนั้น ตัวเลข 20,000 คนเป็นจำนวนไม่มากหรือไม่น้อยเกินไปในการแสดงพลัง ถ้าตัวเลขมากเกินไปจะกลายเป็นความล่าช้าและอุปสรรคในการยื่นถอดถอน นอกจากนี้ ผมได้เสนอว่า ควรตัดเงื่อนไขคุณสมบัติเรื่องการเสียสิทธิทางการเมืองออกไป เพราะเห็นว่าสิทธิในการถอดถอนผู้แทน เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ไม่ควรจำกัดด้วยเงื่อนไขใด ๆ
3. ประเด็น 50,000 รายชื่อเสนอแก้รัฐธรรมนูญ พิจารณาแล้วเป็นสิทธิของประชาชนที่สามารถทำได้ แต่ต้องตระหนักว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ ดังนั้น ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันพิจารณาอย่างรอบคอบว่าจำเป็นต้องแก้ไขหรือไม่อย่างไร และเพื่อประโยชน์ของคนทั้งประเทศหรือไม่
การให้สิทธิประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงจะทำให้ภาคประชาชนมีความตื่นตัวและสนใจในปัญหาของบ้านเมือง โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในการเสนอร่างกฎหมายตลอดจนตรวจสอบการใช้อำนาจของนักการเมืองว่าถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ซึ่งเท่ากับเป็นการลดการผูกขาดอำนาจรัฐในการตัดสินใจทุกอย่างแทนประชาชนและขจัดการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม
 
2) การกำหนดให้นายกรัฐมนตรีมีวาระการดำรงตำแหน่งไม่เกิน 8 ปี (ม. 171 วรรค 4)
นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่าแปดปีไม่ได้ (ม.171 วรรค 4) ประเด็นนี้ผมเห็นด้วยและเสนอในหนังสือ ldquo;ปลดล็อกการเมืองไทย: ข้อเสนอรัฐธรรมนูญใหม่rdquo;[3] ว่าระยะเวลา 8 ปี ในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นเวลาที่เหมาะสมและเพียงพอที่นักการเมืองคนหนึ่งจะทุ่มเทกำลังสมอง กำลังกาย และความสามารถในการบริหารประเทศ ขณะเดียวกัน เป็นการเปิดโอกาสให้คนรุ่นต่อไปได้ก้าวขึ้นมาบริหารประเทศ โดยไม่ยึดติดกับผู้นำคนใดคนหนึ่ง และเป็นการป้องกันนักการเมืองที่พยายามผูกขาดอำนาจรัฐไว้ในมือตนเพียงผู้เดียวที่อาจจะใช้อำนาจดังกล่าวในการเอื้อประโยชน์ทางใดทางหนึ่งแก่ตนเอง ญาติ และพวกพ้อง
 
3) การควบคุมการใช้งบประมาณของรัฐบาล (ม. 166-170)
ให้มีหมวดการเงิน การคลัง และงบประมาณ กำหนดให้ต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ กิจกรรม แผนงาน และโครงการให้ชัดเจน รายจ่ายงบกลางต้องมีจำนวนจำกัดและต้องแสดงเหตุผลและความจำเป็น (ม.166-170)
ในประเด็นนี้ จะทำให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลมีเหตุมีผล มีแผนโครงการอย่างชัดเจน ซึ่งจะทำให้เกิดทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการใช้จ่ายงบประมาณของแผ่นดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ป้องกันการใช้รายจ่ายงบกลางในการหาเสียงทางกลางเมืองดังเช่นที่เคยเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานของรัฐบาลมีความถูกต้องและชอบธรรม
ไม่เพียงเท่านั้น รัฐต้องจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับการบริหารงานโดยอิสระของรัฐสภา ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และสามารถขอแปรญัตติต่อคณะกรรมาธิการได้โดยตรงหากงบประมาณรายจ่ายไม่เพียงพอ ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานขององค์กรดังกล่าวเกิดประสิทธิภาพ มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริงโดยไม่ถูกกำกับหรือแทรกแซงจากฝ่ายบริหารในการจัดสรรงบประมาณให้
 
4) การกำหนดให้องค์กรอัยการเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เพื่อมีอิสระในการสั่งพิจารณาคดีและปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม (ม. 255)
ปัญหาประการหนึ่งของสังคมไทยคือ การใช้อำนาจผ่านทางวัฒนธรรมอำนาจนิยมที่ผู้น้อยต้องอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้มีอำนาจโดยเฉพาะการอยู่ภายใต้ผู้บังคับบัญชาของรัฐบาล หรือแม้กระทั่งการใช้อำนาจของเงินให้มีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ในทางใดทางหนึ่ง
ดังนั้น การกำหนดให้องค์กรอัยการเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญโดยไม่อยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงอีกต่อไป จะทำให้มีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีและปฏิบัติให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และดำเนินการอื่น ทั้งหมดนี้จะทำให้องค์กรอัยการปลอดจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมือง ขณะเดียวกันก็เป็นอิสระที่จะปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา ซึ่งจะสามารถดำเนินคดีและเอาผิดกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้อย่างแท้จริง
 
5) การห้ามควบรวมพรรคการเมืองที่มี ส.ส. ในระหว่างอายุของสภา เพื่อป้องกันการเกิดเสียงข้างมากอย่างผิดปกติในสภา (ม. 104)
การเมืองไทยที่ผ่านมา เกิดการควบรวมพรรคจนทำให้เกิดพรรคการเมืองขนาดใหญ่และเป็นรัฐบาลที่มีเสียงข้างมากจนทำให้พรรคฝ่ายค้านไม่สามารถตรวจสอบการทำหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีได้เลย
ดังนั้น ข้อเสนอการห้ามควบรวมพรรคการเมืองที่มี ส.ส.ในระหว่างอายุของสภา จะเป็นการป้องกันการหลีกเลี่ยงการตรวจสอบการทำงานหากพรรคการเมืองเป็นฝ่ายรัฐบาล ขณะเดียวกัน ถือเป็นการเคารพมติเสียงของประชาชนที่ตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองนั้น ๆ โดยไม่ตัดสินใจยุบพรรคของตนแล้วไปเข้ารวมกับพรรคการเมืองอื่น ๆ
 
6) การจำกัดอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลรักษาการ (ม. 181)
รัฐมนตรีห้ามแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รวมทั้งห้ามการใช้จ่ายงบประมาณสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจาก กกต.ในเชิงหลักการแล้ว
มาตรการดังกล่าวเพื่อป้องกันรัฐบาลรักษาการในการใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง หาคะแนนเสียงจากประชาชน หรือสร้างความได้เปรียบเสียเปรียบในทางการเมืองกับพรรคคู่แข่งขัน ทั้งหมดจะทำให้ป้องกันการผูกขาดอำนาจรัฐและใช้อำนาจรัฐอย่างไม่เป็นธรรม และเป็นธรรมต่อพรรคการเมืองต่าง ๆ ในการลงสนามเลือกตั้ง
 
7) การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเรียงเบอร์ แทนการเลือกตั้งแบบเขตเดียวคนเดียว
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน 400 คน โดยแบ่งเขตเลือกตั้งที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตละ 3 คน แต่เขตที่เหลือต้องไม่น้อยกว่า 2 คน (ม.94)
ในหนังสือ ldquo;ปลดล็อกการเมืองไทย: ข้อเสนอรัฐธรรมนูญใหม่rdquo;[4] ได้วิเคราะห์ผลดี ndash; ผลเสีย ที่จะเกิดแก่ประชาชน โดยวิเคราะห์ จากมุมมองแนวคิด รัฐศาสตร์ ผสานแนวคิด เศรษฐศาสตร์ มีข้อถกเถียงว่าการเลือกตั้ง ส.ส.ควรเป็นแบบแบ่งเขตเรียงเบอร์ หรือ เขตเดียวเบอร์เดียวสะท้อนความเท่าเทียมและการเป็นตัวแทนประชาชนทั้งประเทศได้มากกว่ากัน
รัฐศาสตร์: แนวคิดประชาธิปไตยแบบปัจเจก (individualist democracy)ให้ความสำคัญกับประชาชน 1 คน เท่ากับ 1 เสียงเท่าเทียมกัน แนวคิดนี้ - เขตเดียวคนเดียว (one man one vote)
ขณะที่แนวคิดประชาธิปไตยแบบตัวแทนกลุ่ม (group democracy) ให้ความสำคัญกับ ldquo;กลุ่มคนrdquo; จำนวนประชากรไม่เท่ากัน แต่จะต้องมีตัวแทนเท่ากัน อาจกำหนดขอบเขตพื้นที่เป็นหลัก เช่น 1 จังหวัด 1 ผู้แทน
กล่าวให้ถึงที่สุด แนวคิดรัฐศาสตร์อาจะไม่พอแต่ต้องผสานแนวคิดเศรษฐศาสตร์ด้วย เศรษฐศาสตร์: โดยคำนึงทรัพยากรมีอยู่จำกัด จึงต้องหาวิธีเลือกตั้งที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้ประชาชนจะได้รับประโยชน์สูงสุดจาก ส.ส. เหล่านี้ ในปี 2548 ผมได้วิจัยเรื่อง ldquo;ผลกระทบของระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ที่มีต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยrdquo; พบว่า แบบเขตเดียวคนเดียว 1 เขต ส.ส. 1 คน = ระดับการเป็นตัวแทนประชาชนในระดับเขตลดลง ประชาชนในเขตที่ไม่ได้เลือก ส.ส.คนดังกล่าว ไม่ได้รับความพึงพอใจสูงสุด ไม่ได้รับประโยชน์ทางนโยบาย ส.ส. 1คน= ประชาชนมีทางเลือกนโยบายน้อยลง
แบบแบ่งเขตเรียงเบอร์ เลือกผู้แทนได้ 2-3 คน = ประชาชนในเขตพึงพอใจมากกว่า ได้ตัวแทนที่สะท้อนประโยชน์เชิงนโยบายได้มากกว่า ส.ส. เป็นปากเสียง ยื่นกระทู้ เสนอกฎหมาย นำนโยบายไปปฏิบัติ
สรุปคือ เลือกแบบแบ่งเขตเรียงเบอร์ และเลือกผู้แทนได้เท่ากัน คือ 3 คน เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่า ดังนั้น บทบัญญัติการเลือก ส.ส.ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จึงมีความเหมาะสม
 
8) การเปลี่ยนระบบเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ เป็นการเลือกตั้งแบบสัดส่วน
กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน โดยแบ่งพื้นที่ประเทศออกเป็น 8 กลุ่มจังหวัด และให้แต่ละกลุ่มจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง (ม.95-96)
กล่าวได้ว่า การคงการเลือกตั้งแบบสัดส่วนหรือบัญชีรายชื่อ ถือเป็นหลักการที่ดีที่ควรสนับสนุนเพราะ[5]% 4) เป็นการสะท้อนการเลือกพรรคหรือนิยมชมชอบในพรรคของประชาชน ซึ่งเท่ากับเป็นการส่งเสริมให้พรรคการเมืองมีความเข้มแข็งและพัฒนาเป็นสถาบันทางการเมืองที่ยั่งยืน 1) เปิดโอกาสให้ผู้มีความรู้ มีความสามารถ มีโอกาสเข้ามาทำงานการเมือง 2) ทุกคะแนนเสียงของประชาชนมีค่า ควรนำมาคิดเป็นสัดส่วนที่นั่งที่พรรคการเมืองควรจะได้ 3) เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองขนาดเล็กมีตัวแทนในสภาผู้แทนราษฎร โดยยกเลิกสัดส่วน 5
อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งแบบสัดส่วนที่แบ่งเป็น 8 กลุ่มจังหวัด อาจจะสร้างความสับสนให้กับประชาชนในการเลือกผู้แทนและเลือกพรรคการเมือง เนื่องจากหมายเลขผู้แทนเขตเลือกตั้งและหมายเลขแบบบัญชีรายชื่อจะไม่ตรงกันเลย ตลอดจนเกิดความสับสนว่ามีใครเป็นผู้สมัครลงเลือกตั้งในพื้นที่หรือกลุ่มจังหวัดของตน (เนื่องจากแบ่งเป็น 8 กลุ่มจังหวัด) ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง สื่อสารมวลชนทุกแขนง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จะต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ของการเลือกตั้งแบบใหม่นี้ มิฉะนั้นแล้วจะเกิดบัตรเสียอย่างมากมายหรือกาบัตรไม่ตรงกับความต้องการคือต้องการเลือกพรรคนี้แต่ไม่ทราบว่าพรรคที่ต้องการเลือกหมายเลขอะไร
 
9) การให้ ส.ส. เป็นอิสระจากมติพรรคการเมือง
ส.ส. มีอิสระจากมติพรรคการเมืองในการตั้งกระทู้ถาม การอภิปราย และการลงมติไม่ไว้วางใจ (มาตรา 162 วรรคสอง) และเสนอร่างกฎหมายได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากพรรคการเมืองของตน (มาตรา 142 (2))
การกำหนดให้ ส.ส. มีอิสระจากมติพรรคการเมือง ในมุมหนึ่งจะทำให้การดำเนินงานทางการเมืองเป็นอย่างตรงไปตรงมา หากพบว่าฝ่ายรัฐบาลหรือรัฐมนตรีทำผิดหรือไม่สามารถตอบคำถามการอภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่ในทางตรงข้าม ส.ส. คนนั้นอาจจะถูกพรรคการเมืองดำเนินการในภายหลังด้วยการไม่ส่งลงเลือกตั้งในสมัยหน้า ดังนั้น มาตรานี้เป็นประโยชน์ในทางทฤษฏีแต่ในภาคปฏิบัติอาจจะเกิดขึ้นได้ยาก
 
10) การให้วุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง 76 คน (จังหวัดละ 1 คน) และมาจากการสรรหา 74 คน รวม 150 คน (มาตรา 111)
เห็นด้วยในเชิงหลักการ ดังที่เสนอไว้ในหนังสือ ldquo;เปิดโลกความคิดมองวุฒิสภาไทยrdquo; ตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 โดยผมเสนอที่มาของวุฒิสมาชิกมาจากสองส่วน[6]
ส่วนแรกแบ่งตามเกณฑ์ทางภูมิศาสตร์ กล่าวคือ วุฒิสมาชิกมาจากการเลือกตั้ง จังหวัดละ 1 คน รวม 76 คน เป็นตัวแทนของจังหวัดโดยตรง รับผิดชอบต่อคนทั้งจังหวัด
ส่วนที่สองแบ่งตามเกณฑ์ตัวแทนประชาชนกลุ่มต่างๆ แบ่งสัดส่วนที่เหมาะสม ตามสาขาอาชีพ และ กลุ่มผลประโยชน์ ครอบคลุมคนกลุ่มน้อยและกลุ่มคนด้อยโอกาส
ข้อเสนอของผมสอดคล้องกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติซึ่งกำหนดให้ ส.ว. มาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละ 1 คน ขณะที่การสรรหาจำนวน 74 คนโดยให้มีคณะกรรมการสรรหา โดยสรรหาบุคคลที่มีความเหมาะสมจากผู้ได้รับการเสนอชื่อจากองค์กรต่างๆในภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และภาคอื่นที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ หากการสรรหาเป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม และคำนึงถึงความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ว. ก็จะทำให้ ส.ว.ชุดนี้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรู้ ความสามารถ สุจริต และเที่ยงธรรมอย่างแท้จริง
 
ประเด็นที่ 3 การเมืองโปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรม
 
รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ได้กำหนดให้เป็นการเมืองที่โปร่งใส มีคุณธรรม และจริยธรรม ดังนี้
1) กำหนดหมวดคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐไว้อย่างชัดเจน อาทิ
จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐจะต้องมีมาตรฐานที่ชัดเจน โดยมีกลไกและระบบในการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการละเมิด (ม. 279)
การฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมที่ร้ายแรงของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนำไปสู่การถอดถอนออกจากตำแหน่ง (ม. 280)
กำหนดให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นผู้กำกับดูแลคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ม. 250(5)
ที่ผ่านมา ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐจำนวนหนึ่ง ไม่ได้ใช้อำนาจหน้าที่อย่างถูกต้องหรือทำในสิ่งที่ไม่ควรทำแม้จะไม่ผิดกฎหมายโดยตรง แม้จะเคยมีข้อบังคับเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรม แต่ก็เป็นเพียงกติกาในกระดาษเท่านั้น เพราะไม่มีบทลงโทษเด็ดขาดหรือเอาผิดได้อย่างแท้จริง ทำให้นักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐไม่เกรงกลัวในความผิด
ดังนั้น เมื่อผู้ยกร่างได้เห็นปัญหาที่ผ่านมา จึงได้เขียนในเรื่องมาตรฐานทางจริยธรรม ซึ่งมีทั้งกลไกลและระบบในการดำเนินเพื่อให้การบังคับเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญห<
admin
เผยแพร่: 
วารสารเสนาธิปัตย์
เมื่อ: 
2008-01-01