การทำงานเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์ทุกคน เมื่อเราเติบโตพ้นวัยเด็ก เราจะเข้าสู่ ?วัยทำงาน? ซึ่งเป็นช่วงวัยที่เราต้องอยู่ยาวนานที่สุดในชีวิตของคน ๆ หนึ่ง หากพิจารณาจากนิยามคนวัยทำงาน ซึ่งกำหนดไว้ว่า มีอายุ 15-59 ปี หรือใช้เวลา 44 ปี ของชีวิตในการทำงาน สมมติแต่ละคนใช้เวลาส่วนใหญ่ในการทำงาน วันละ 8-9 ชั่วโมง ตลอดอายุจะใช้เวลาทำงาน เฉลี่ยประมาณ 53,000 ชั่วโมง ... เท่ากับว่า เราใช้เวลามากกว่าครึ่งชีวิต ในการทำงาน (หากเราเสียชีวิตตอนอายุ 80 ปี)!!
    การทำงานกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ ที่ไม่สามารถปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงได้ 

เหลือเวลาอีกไม่ถึง 2 เดือน อาเซียนจะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) อย่างเป็นทางการ การเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ AEC เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ประเทศไทยอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านของการพัฒนา ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ประเด็นที่น่าสนใจ คือ AEC จะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศของไทยในอนาคตอย่างไร?

เมื่อวันที่ 8-10 ตุลาคมที่ผ่านมา ผมได้เดินทางไปเมืองวลาดิวอสตอค (Vladivostok) ประเทศรัสเซีย เพื่อเข้าร่วมงาน 2 งานคือ?Young Russia-Young ASEAN: Expanding Regional Connections, The 3rd Russia-ASEAN Youth Summit? และใน Russia-ASEAN Expert Forum ซึ่งผมได้รับเกียรติในการเป็นทั้งวิทยากรบรรยาย อาจารย์สอนนักศึกษา และตัวแทนผู้เชี่ยวชาญอาวุโสจากประเทศไทย เพื่อถกแถลงประเด็นสำคัญต่างๆ เช่น การสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียน-รัสเซีย ภาวะเศรษฐกิจไทยปัจจุบันและความร่วมมือรัสเซีย-ไทย เป็นต้น

ผู้นำไม่ต้องลงไปทำเองทั้งหมด แต่ต้องรู้ว่าทั้งหมดเป็นอย่างไร ....
     ความแตกต่างระหว่างผู้นำที่ เก่ง กับ ไม่เก่ง มักจะวัดกันตรงที่ความสามารถในการหลบหลีกและรับมือกับปัญหา  ผู้นำที่เก่งจะแก้ปัญหาได้ตรงจุดเพราะวิเคราะห์สาเหตุได้แม่นยำ คาดการณ์อนาคตและวางแผนรับมือได้ทัน
 
"เด็ก ๆ กับนิสัยช่างโกหก  มักเป็นสิ่งที่มาควบคู่กันเสมอ คงเป็นเรื่องแปลกและหายากในการที่จะเสาะหาเด็กสักคนหนึ่งหรือคน ๆ หนึ่งซึ่งไม่เคยพูดโกหกเลยมาตลอดทั้งชีวิต  อย่างไรก็ตาม การโกหกของลูกนั้นหาใช่อุปนิสัยที่พ่อแม่ควรเพิกเฉยแต่อย่างใด ตรงกันข้าม ควรหาทางจัดการอย่างเด็ดขาดในทางที่ถูกต้องเหมาะสม 

 

เมื่อเดือน กรกฎาคมที่ผ่านมา (2557) หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทม์ส ได้ลงบทสัมภาษณ์ การ์โลส สลิม เอลู (Carlos Slim Hel? Aglamaz) เจ้าพ่อแห่งแวดวงสื่อสารโทรคมนาคม ชาวเม็กซิกัน วัย 74 ปี เจ้าของตำแหน่งบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกในปัจจุบัน ออกมาเรียกร้องให้ทุกประเทศในโลก ควรกำหนดวันทำงานไว้เพียง 3 วันต่อสัปดาห์ โดยทำงานวันละ 11 ชั่วโมง เพื่อเปิดโอกาสให้กับตนเองได้พักผ่อนและมีเวลาให้กับกิจกรรมอื่นๆ ที่ตนสนใจ รวมถึงมีเวลาให้กับครอบครัวเพิ่มขึ้นเขาคิดว่า แทนที่จะการปล่อยให้งานขโมยชีวิต หรือพรากทุกอย่างไปจากชีวิต การทำงานเพียง 3 วันและหยุดพักผ่อนอีก 4 วันต่อสัปดาห์ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นผลดีต่อสุขภาพและความคิดสร้างสรรค์ของเรามากกว่า  เขาได้เริ่มนำวิธีการดังกล่าวเข้ามาใช้กับพนักงานของบริษัท และไม่ได้ส่งผลกระทบ ต่อรายได้ของบริษัทแต่อย่างใด  

     ผู้นำที่ขาดความคิดริเริ่ม และไม่เคยสร้างการเปลี่ยนแปลงใหม่ คือ ผู้สร้างความเสี่ยง ?ล้มเหลว? ในการนำคน นำองค์กรสู่อนาคต และพลาดเป้าหมายวิสัยทัศน์ที่วางไว้... 
     อนาคตเป็นของผู้ที่มีความพร้อมมากกว่าเสมอ ผู้นำที่มี ?ความคิดริเริ่ม? และมีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ย่อมมีโอกาสก้าวไปก่อน ก้าวไปไกล ก้าวไปสู่อนาคต ที่ประสบความสำเร็จได้มากกว่า 
     ตรงข้ามกับผู้นำที่นำแบบไปเรื่อย ๆ พอใจในสิ่งที่เป็นอยู่ รักษาระบบแบบอนุรักษ์นิยม ไม่คิดจะริเริ่มเปลี่ยนแปลงหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่ดีกว่าด้วยตนเอง ถ้าไม่มีใครสั่งหรือไม่มีสถานการณ์บีบบังคับ อาจนำได้ในสถานการณ์ปกติ แต่จะไม่ใช่ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ยิ่งใหญ่ และไม่ใช่ผู้นำที่ปรับตัวเข้ากับอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้

     เราทำงานแบบ "มืออาชีพ" หรือทำเพียงเป็น "อาชีพ"?
     เราสร้างผลงาน "ดีเลิศ" จนเป็นที่ยอมรับ หรือ ทำพอผ่าน ๆ ตามค่าตอบแทนที่ได้รับ..
     เรารับผิดชอบงานอย่างดี แม้ไม่มีใครคุม หรือ ถ้าหัวหน้าไม่คุม ก็ไม่กระตือรือร้นที่จะทำ..
     เรายินดีทุ่มเททำงานให้สำเร็จ เพราะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม หรือ ถ้าส่วนตัวไม่ได้ประโยชน์ ก็ไม่ค่อยอยากทำ..

ในบทความ 2 ตอนที่ผ่านมา ผมได้กล่าวถึงการบริหารปัจจัยนำเข้าอย่างมีประสิทธิภาพ (efficiency) และกระบวนการดำเนินงานอย่างดีเลิศ (Excellence) ไปแล้ว สำหรับบทความตอนที่ 3 ในบทความชุดยุทธศาสตร์การบริหาร 8E ที่ผมสร้างขึ้น ผมจะนำเสนอความหมาย นิยาม และมุมมองที่แตกต่างของ E ตัวที่ 3 คือ Effectiveness หรือแปลเป็นไทยได้ว่า ?ประสิทธิผล? รวมถึงยกตัวอย่างการนำไปประยุกต์ใช้งาน เพื่อเกิดความเข้าใจง่ายและเห็นภาพชัดเจน และสามารถนำไปปรับใช้กับเรื่องอื่นๆ ได้อย่างเหมาะสม

"จากนิทานเรื่องเต่ากับกระต่าย" เมื่อเต่ากับกระต่ายต้องมาวิ่งแข่งกัน หากมองด้วยสายตาธรรมชาติแล้ว กระต่ายย่อมชนะอย่างแน่นอน  แต่เพราะเต่าทำอย่างเต็มที่หรือทำอย่างดีที่สุด  จึงทำให้ในที่สุดเต่าเข้าเส้นชัยได้ก่อน  ในเหตุการณ์นี้ ถ้ามีใครไปสัมภาษณ์กระต่ายก่อนการแข่งขัน กระต่ายคงไม่รู้ว่าตัวเองจะแพ้  หรือถ้าได้ถามเต่าก่อนการแข่งขัน เต่าก็คงไม่รู้อีกเช่นกันว่าตัวเองจะชนะ