“สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างระดับการศึกษากับมหาเศรษฐีระดับโลกที่อยู่ในลิสต์Forbes 400 ปีนี้ ซึ่งผู้เขียนพบประเด็นบางอย่างที่สอดคล้องกันระหว่างการศึกษาและระดับความรวย แต่ไม่ได้หมายความว่ามีการศึกษาสูงกว่าจะรวยกว่า ในบทความจะเฉลยว่าอะไรคือปัจจัยสำคัญของการเป็นมหาเศรษฐีเหล่านั้น” 

เมื่อไม่นานนี้ ผมได้อ่านบทความหนึ่งในนิตยสาร Forbes – The 400 Richest People in America ฉบับวันที่ 14 พฤศจิกายน 2017 เป็นเรื่องเกี่ยวกับระดับการศึกษาของเศรษฐีในสหรัฐอเมริกา โดยเปิดประเด็นว่า การศึกษาถึงระดับปริญญาเอกจำเป็นหรือไม่ เราจำเป็นต้องสำเร็จการศึกษาสูงถึงระดับใด ถึงจะมีโอกาสเป็นมหาเศรษฐีระดับโลกได้

ปัญหาความเหลื่อมล้ำอยู่คู่กับประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นความเหลื่อมล้ำทางรายได้
การศึกษา การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน สวัสดิภาพและสวัสดิการทางสังคม รวมไปถึง “ความเหลื่อมล้ำทางปัญญา”

ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องพัฒนาและสร้างสังคมปัญญานิยมให้เกิดขึ้นให้ได้ หากประเทศไทยยังนิ่งเฉย จะยิ่งทำให้เกิดช่องว่างความแตกต่างด้านสังคมแห่งปัญญาระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ

ในบทความนี้ขอเสนอ แนวคิดเศรษฐกิจพึ่งตนเองในลักษณะพร้อมที่จะดำเนินนโยบายสับเปลี่ยน (switching policy) จากเศรษฐกิจเสรียามปกติเป็นพึ่งตนเองได้ทันทีเมื่อเกิดวิกฤต เป็นแนวคิดระดับจุลภาค ด้วยแนวคิด ชุมชนยั่งยืนด้วยตนเอง (Self – Sustained Community: SSC) 

ปัจจุบันจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโควิดกลับเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก และด้วยวิกฤตโควิดที่ยาวนาน ทำให้คนจำนวนมากมาถึงจุดที่ไม่มีอะไรกิน บางชุมชนในต่างประเทศถึงกับต้องมีแคมเปญ “ยกธงขาว” กล่าวคือ หากครัวเรือนใดสู้ต่อไม่ไหว ให้นำผ้าขาวมาผูกเป็นธงแขวนหน้าบ้าน เพื่อให้คนที่พบเห็นให้ความช่วยเหลือ 

เนื่องจากข้อจำกัดในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ของไทย เมื่อกว่า 30 ปีก่อน ผมจึงเสนอเป็นครั้งแรกและย้ำมาตลอดถึงความจำเป็นที่ไทยต้องใช้ประโยชน์จากจุดแกร่งของประเทศ (Thailand’s Niches) เพื่อก้าวกระโดดเป็นประเทศรายได้สูงให้ได้ ซึ่งประกอบด้วย 4 ด้าน คือ การเป็นเมืองหลวงอาหารโลก (Food Capital) เมืองหลวงอภิบาลคนชราโลก (Elderly Healthcare Capital) เมืองหลวงสุขสภาพโลก (Wellness Capital) และเมืองหลวงการท่องเที่ยวโลก (Tourism Capital)

เมื่อไม่นานมานี้ผมได้รับเชิญโดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีให้บรรยายในหัวข้อ “การบริหารภาครัฐภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงในอนาคต” จึงใช้โอกาสนี้ ชี้ให้ข้าราชการที่เข้าร่วมฟังบรรยายเห็นว่า หากต้องการจะบริหารงานภาครัฐ อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้สภาวะโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างไร ผมเชื่อว่าประเทศชาติที่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองสูง เป็นประเทศพัฒนาแล้วและมีรายได้สูง ล้วนไม่ได้พัฒนาโดยภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่งเพียงเท่านั้น แต่เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างตรีกิจ หรือ 3 ภาคกิจ คือ รัฐกิจ ธุรกิจ และประชากิจ โดยภาครัฐเป็นภาคส่วนสำคัญในการขับเคลื่อน เนื่องจากมีอำนาจรัฐมีงบประมาณ และมีบุคลากรจำนวนมาก และภายใต้สภาวะที่มี การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ภาครัฐจำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ที่บูรณาการมิติต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ซึ่งผมมีข้อเสนอดังนี้

 ผู้เขียนขอแชร์ไอเดีย ที่เรียกว่า กรอบความคิดโมเดลบูรณาการ 8C หรือ Dr. Dan Can Do 8C Integration Model เพื่อเป็นแนวทางในการยกระดับความร่วมมือของ RCEP ให้แน่นแฟ้นขึ้นเพื่อให้การรวมกลุ่มนี้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกประเทศและกับประเทศไทย

 ทั่วโลกกำลังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดอย่างต่อเนื่องและยาวนาน การร่วมมือทางเศรษฐกิจจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนในการฟื้นเศรษฐกิจประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งวันที่ 17 มิถุนายนที่ผ่านมา ผมได้รับคำเชิญจาก China Development Institute (CDI)ให้บรรยายหัวข้อ The RCEP Signing: Common Future and Shared Prosperity Towards Regional Cooperation ในงานสัมมนาของ China-ASEAN Think Tank Webinar

โลกกำลังเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางสุขภาพ โดยผู้คนให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ เน้นการป้องกันแทนการรักษาโรค สนใจการชะลอวัยและการมีอายุยืนมากขึ้น ขณะที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบด้านบริการสุขภาพและความงาม ด้วยเหตุนี้ อุตสาหกรรม Wellness จึงมีความสำคัญและน่าสนใจยิ่งในเชิงยุทธศาสตร์
Wellness หรือที่ผมบัญญัติศัพท์ว่า “สุขสภาพ” หมายถึง สภาพ (state) ที่มนุษย์ มีชีวิตอย่างมีคุณภาพและมีความสุข เป็นสภาพที่เกิดจากการบูรณาการขององค์ประกอบต่าง ๆ ของมนุษย์ ทั้งร่างกาย จิตใจ ความคิด ความจดจ่อ จิตวิญญาณ รวมถึง พฤติกรรมและปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก
การส่งเสริมสุขสภาพจึงไม่ใช่เพียงการส่งเสริมบริการเฉพาะด้านเท่านั้น การพัฒนาสุขสภาพต้องพิจารณาอย่างบูรณาการ ซึ่งผมได้จัดทำข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขสภาพเพื่อการสร้างชาติ ดังต่อไปนี้

ปัจจุบันสัดส่วนผู้สูงอายุในสังคมเพิ่มสูงขึ้น แต่นโยบายผู้สูงอายุของไทยนั้น ยังเน้นการจัดสวัสดิการ และการดูแลด้านกายภาพของผู้สูงอายุเป็นหลัก อีกทั้งยังไม่ครอบคลุมผู้สูงอายุทั้งประเทศ แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับนโยบายผู้สูงอายุในมิติอื่น ๆ โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากผู้สูงอายุ ที่สั่งสมความรู้และประสบการณ์จากชีวิตที่ผ่านมา และการพัฒนานโยบายผู้สูงอายุ เพื่อการพัฒนาประเทศและฟื้นประเทศ มากกว่าจะเป็นเพียงการจัดสวัสดิการเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ผมจึงได้เสนอยุทธศาสตร์การดูแลผู้สูงอายุเพื่อฟื้นประเทศที่ครอบคลุมทุกมิติของผู้สูงอายุ ให้กับตัวแทนภาครัฐกิจ ธุรกิจ และประชากิจที่สถาบันการสร้างชาติ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

เราต้องอยู่กับวงจรโควิด-19 ราว 2 ปี นั่นคือ อีกนานราว 18 เดือน หรือจนกว่าการพัฒนาวัคซีนจะสำเร็จ ...

ที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาและระบาดวิทยา ต่างให้ข้อมูลตรงกันว่า การพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 12-18 เดือน

การตัดสินใจ เป็นหนึ่งในทักษะสำคัญที่ต้องพัฒนาฝึกฝนให้ถูกต้องและแม่นยำ เพราะมนุษย์ต้องทำการตัดสินใจอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ตั้งแต่เรื่องเล็กที่สุดอย่างการตัดสินใจว่าจะรับประทานอะไรจนถึงเรื่องใหญ่ที่สุด เช่น การบริหารองค์กร หรือบริหารประเทศ