ปัจจุบัน มีโครงการขนาดใหญ่เกิดขึ้นอย่างมากมาย สำหรับประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่จะเป็นโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน แต่สำหรับประเทศพัฒนาแล้วจะเป็นโครงการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

         ในอนาคตจะมีโครงการที่เกิดจากภาคส่วนที่ไม่ใช่รัฐเพิ่มมากขึ้น หรืออาจจะเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน หรือความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน รวมถึงความร่วมมือทั้งจากภายในประเทศและระหว่างประเทศ

ในอนาคต ความเป็นเมืองจะขยายตัวมากขึ้น กล่าวคือ ประชากรจะอาศัยอยู่ในเมืองร้อยละ 60 ในปี 2020 และเป็นร้อยละ 70 ในปี 2050 ความเป็นเมืองช่วยให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพและการสร้างนวัตกรรม สังเกตได้จากส่วนแบ่งของผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือ GDP ของเมืองมากกว่าสัดส่วนของประชากรในเมือง GDP ของเมืองมีส่วนแบ่งถึงร้อยละ 80 ของ GDP โลก แต่มีประชากรในเมืองเพียงร้อยละ 54 ของประชากรโลก
In last January, the committee members of the Wisdom Council Thailand completed a survey on PVE index. The survey structure of PVE index was consisted of three different parts which were contribution to economic growth, social responsibility and private institution.
 
From the survey of 1,227 Thai citizens and the interview of 200 entrepreneurs about the effectiveness of the private sector; the survey suggested that Thai citizens gave private effectiveness only a passing level with the 61% for the overall.
 
By considering each indicator, it revealed that - private sector helps in increasing economic growth due to its expert and specialization in doing business.

     นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นประมุขแห่งประเทศไทย จนกระทั่งเสด็จสวรรคต ณ วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2559 พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดพระองค์หนึ่งของโลก พระราชกรณียกิจของพระองค์มีมากมายเหลือคณานับ ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนและรับรู้ปัญหาของประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วทุกพื้นที่ของประเทศด้วยพระองค์เอง ซึ่งทำให้พระองค์พบว่า ราษฎรส่วนใหญ่ที่เป็นเกษตรกรนั้น ล้วนยากจน ผลิตพืชผลทางการเกษตรได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ อันเนื่องจากความแห้งแล้ง ขาดแคลนพื้นที่ทำกิน อีกทั้งขาดแคลนความรู้ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ยากไร้ให้มีสภาพความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พระองค์จึงได้ทรงริเริ่มโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมากกว่า 4,000 โครงการ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าและช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้พ้นจากความยากจนอย่างยั่งยืน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นประจักษ์พยานให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพด้านเศรษฐกิจของพระองค์อย่างชัดเจน

ในที่สุด ได้เดินทางมาถึงบทความสำหรับ E ตัวสุดท้ายในโมเดลยุทธศาสตร์การบริหารประสิทธิสภาพ 8Eแล้ว และ E ที่ 8 ที่ผมจะนำเสนอต่อไปนี้ นับเป็นสิ่งที่ท้าทายและเป็นขั้นที่ยากที่สุดก็ว่าได้โดยเฉพาะสำหรับประเทศไทย 

คำว่า "ประสิทธิกาล" เป็นคำที่ผมสร้างขึ้นมา เกิดจากการรวมคำศัพท์ 2 คำ เข้าด้วยกัน ได้แก่ คำว่า "ประสิทธิ" และ คำว่า "กาล" หรือ "กาละ" โดยกาล คือ กาลเวลา คราว ครั้ง หน และเรียกเป็นคำภาษาอังกฤษที่ผมสร้างขึ้นมา คือ "Eschatonicity" ด้วยเหตุนี้ คำว่า ประสิทธิกาล จึงหมายถึง การบริหารที่สามารถเอาชนะผลแห่งกาละได้ (Beyond Temporality) ซึ่งหลักการในการบริหาร คือ การบริหารจัดการที่เน้นความคงทน ผลยั่งยืน  การอยู่ได้นาน ยืนยาวที่สุดปลายปริมณฑลกรอบเวลา จนนำไปถึงความยั่งยืนที่แท้จริง และสิ่งสำคัญที่สุดในการบริหาร คือ การทำให้ผลลัพธ์ที่เลอค่ายั่งยืนยาวนาน กล่าวคือ ไม่ว่าจะทำอะไรต้องคำนึงก่อนเสมอว่า ทำแล้วไม่ได้เกิดผลดีเฉพาะกาลนี้เท่านั้น แต่ต้องมีประโยชน์ไปถึงอนาคต ข้ามกาลเวลา เพราะ สิ่งที่คงอยู่ได้หลายพันปี และปัจจุบันยังอยู่ แสดงว่ามีการออกแบบกระบวนการบางอย่าง เช่น ศาสนา ในยุคพระพุทธเจ้ามีหลายศาสนา ทว่าศาสนาจำนวนมากหายไปแต่พระพุทธศาสนายังคงอยู่ เป็นต้น 

ปัจจุบันเป็นโลกที่ทุกศาสตร์เชื่อมโยงถึงกัน และไม่อาจแยกออกจากกันได้ เพราะโลกปัจจุบัน เป็นโลกที่มีความซับซ้อน มากขึ้นปัจจุบันเป็นโลกที่ทุกศาสตร์เชื่อมโยงถึงกัน และไม่อาจแยกออกจากกันได้ เพราะโลกปัจจุบัน เป็นโลกที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ความปรารถนาและเป้าหมายของมนุษย์ก็มีความซับซ้อนมากขึ้น สิ่งที่ทำได้จึงมีเพียงการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ผมมองขาดว่าในอนาคต การทำสิ่งใดๆ ที่อยู่ในขอบเขตเดิมจะไปไม่ได้ไกล ผู้ที่ขี่ยอดคลื่นเท่านั้นที่จะยังคงอยู่และไปต่อได้ ด้วยเหตุนี้ ผมจึงนำการคิดเชิงบูรณาการมารวมกับการบริหาร เกิดเป็นยุทธศาสตร์การบริหารอย่างมี ?ประสิทธิเขต? (Externality) หรือที่เรียกว่า ?ยุทธศาสตร์ประสานพลังบูรณาการขยายผลลัพธ์ไปนอกขอบเขต? เป็น 1 ใน 8 ยุทธศาสตร์ที่อยู่ในยุทธศาสตร์การบริหาร 8E โมเดล



บทความนี้ยังคงเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์การบริหารจากโมเดลการบริหารประสิทธิสภาพ 8E ที่ได้ดำเนินมาถึงยุทธศาสตร์ การบริหาร E ตัวที่ 6 แล้ว นั่นคือ ยุทธศาสตร์การบริหารเพื่อทวีคูณผลลัพธ์ที่เลอค่า หรือเรียกว่า การบริหารอย่างมีประสิทธิคูณ (Exponentiality)

บทความตอนนี้ ผมจึงขอนำเสนอ ?ยุทธศาสตร์การบริหารเพื่อผลลัพธ์ที่เลอค่า (Outdo Management Strategy)? หรือที่ผมเรียกว่าการบริหารอย่างมี ?ประสิทธิสาร (Esthetic-Worthiness)?

ผมสร้างคำว่า ?ประสิทธิสาร? ขึ้นมาจาก 2 คำ คือ ประสิทธิ+สาระ โดยคำว่า ?สาระ? มาจากคำว่า ?ผลสาร? อันหมายถึง แก่นสาระของผลที่เกิดขึ้น หรือสิ่งที่เป็นแก่นสาร เป็นประโยชน์ และเมื่อรวมกับคำว่า ?ประสิทธิ? แล้ว จึงหมายความว่า การทำให้สิ่งที่เป็นแก่นสาระหรือมีประโยชน์สำเร็จ ทั้งนี้สิ่งที่เป็นแก่นสาร จะต้องมีคุณค่าสูงสุดท่ามกลางสิ่งที่มีคุณค่าทั้งหลาย ซึ่งผมเรียกสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุดนี้ว่า ?เลอค่า?

พิพิธภัณฑ์ฮาร์วาร์ดมีส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการพัฒนาสติปัญญาและการเรียนรู้ไม่เฉพาะแก่ประชาคมฮาร์วาร์ดเองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกลุ่มเด็กนักเรียนท้องถิ่นที่สามารถใช้พิพิธภัณฑ์ดังกล่าวนี้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางด้านศิลปะและประวัติศาสตร์ ช่วยให้การศึกษาเรียนรู้ของเด็กนักเรียนเหล่านี้มีชีวิตชีวา น่าสนใจ ลึกซึ้ง และสมจริงมากยิ่งขึ้น 

ปัญหาที่เกิดขึ้นมากมายในสังคมไทยในปัจจุบัน ผมเห็นว่ามีสาเหตุสำคัญประการหนึ่งเกิดจากกระบวนการบริหารที่ยังไม่ครบถ้วนทุกมิติ ผมได้ทบทวนเรื่องกรอบความคิดในการบริหารและพัฒนาไปสู่การสร้างโมเดลใหม่ "ยุทธศาสตร์การบริหาร 8E โมเดล" เมื่อหลายปีที่แล้ว

ในบทความนี้ ผมจะกล่าวถึง E ตัวที่ 4 ซึ่งผมขอสร้างคำเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า "Esteemed Valuableness" และสร้างคำเป็นภาษาไทยว่า "ประสิทธิคุณ"