“คุณภาพมนุษย์” เป็นตัวแปรสำคัญที่นำไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วได้อย่างก้าวกระโดด ประเทศพัฒนาแล้วมีการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ในระดับสูงมากเมื่อวัดโดยดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index: HDI)ที่มีตัวชี้วัด 3 ด้าน ได้แก่ อายุขัยเฉลี่ย (Life expectancy) การศึกษา (Education) และรายได้ต่อหัวประชากร (Income per capita) ในปี 2014ประเทศ 10 อันดับแรกที่มีค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงที่สุด ล้วนเป็นสมาชิกในกลุ่มOECD ทั้งสิ้น และ เกือบทุกประเทศในกลุ่มOECD มีค่า HDI อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ในระดับสูงมาก (ยกเว้นตุรกีกับเม็กซิโกอยู่กลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ระดับสูง) โดยค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์สูงมากอยู่ที่ 0.875

ขณะที่ประเทศไทย มีคะแนนอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ระดับสูงถือเป็นอันดับที่ 93 ของโลก(จาก 188 ประเทศ) และได้คะแนน 0.726 และเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอาเซียนด้วยกัน ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 4 เป็นรองจากสิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย ที่อยู่ในอันดับ 11 อันดับ 31 อันดับ 62 ของโลก ตามลำดับ

จากทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านทางสังคม: คลื่นอารยะ 7 ลูก ในหนังสือสยามอารยะ แมนนิเฟสโต ที่ผมเขียนนั้น กล่าวได้ว่า ปัจจุบัน โลกกำลังอยู่ในคลื่นลูกที่ 3 ยุคข้อมูลข่าวสาร และกำลังเคลื่อนไปสู่คลื่นลูกที่ 4 ยุคสังคมแห่งความรู้ การเปลี่ยนแปลงแต่ละยุคเกิดจากการที่มนุษย์รู้จักใช้ความคิดปฏิวัติสังคม และประเทศใดที่สามารถขี่ยอดคลื่นการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ก่อนจะเป็น “ผู้ชนะ” คือ สามารถก้าวกระโดดสู่การเป็นประเทศชั้นแนวหน้าที่ทรงอิทธิพลของโลก ในมิติทางเศรษฐกิจ ผมมีแนวคิดมโนทัศน์ “เศรษฐกิจหลากสี” อันเป็นแนวคิดที่ระบุถึง เศรษฐกิจหลากหลายมิติที่เราควรให้ความสำคัญ เพื่อสร้างชาติให้เป็นผู้ชนะในโลกคลื่นลูกที่ 3 ถึง 6 โดยเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) หรือเศรษฐกิจ “สี” ใสเป็นมิติหนึ่งในแนวคิดดังกล่าว

การศึกษาของประเทศไทยเราทุกระดับตั้งแต่ยุคอดีตจนกระทั่งปัจจุบันเป็นการศึกษาที่ยังไม่สามารถมีส่วนเสริมสร้างสมรรถนะสำหรับการทำงานหรือการประกอบอาชีพให้แก่ผู้เรียนเท่าที่ควร สะท้อนให้เห็นจากแต่ละปีมีผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย แต่ในที่นี้กลับพบว่า บางส่วนมีสมรรถนะและคุณภาพไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน อันเป็นเหตุให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสถานประกอบการ อาทิ การต้องสูญเสียทรัพยากรและงบประมาณในการพัฒนาบุคลากรใหม่ เป็นต้น
หลังจากสภาปัญญาสมาพันธ์ที่ผมเป็นประธาน ได้ริเริ่มจัดทำดัชนีประสิทธิผลประเทศไทย (Thailand Effectiveness Index) ตลอดช่วงปี 2559 ที่ผ่านมา ดัชนีดังกล่าวได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้โครงสร้างดัชนีฯ สะท้อนถึงภาพรวมของสถานการณ์การพัฒนาและความสำคัญขององค์ประกอบต่างๆ ที่มีต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งยังได้ทดลองนำดัชนีที่พัฒนามาประเมินประสิทธิผลในการพัฒนาประเทศไทย

บทความที่ผ่านมา ผมได้นำเสนอคะแนนประสิทธิผลระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 3 ด้านแรกไปแล้ว ได้แก่ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการศึกษา โดยด้านการศึกษาของไทยน่าเป็นห่วงมากที่สุด เพราะได้คะแนนในลำดับที่ 9 มาตรฐานการศึกษาของประเทศอยู่ในเกณฑ์ไม่ดี ไม่เป็นที่น่าพึงพอใจทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ทุกภาคส่วนควรเร่งรัดแก้ปัญหาด้านการศึกษา ตามข้อเสนอต่างๆ ที่ผมเคยเสนอไว้แล้ว
จำนวนผู้ประกอบการทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จาก 400 ล้านคน (1 คนต่อประชากรโลก 19 คน) ในปี 2012 เป็น 1 พันล้านคน (2.3 คนต่อประชากรโลก 19 คน) ในปี 2020 เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ส่งผลให้ต้นทุนในการทำธุรกิจและต้นทุนในการผลิตสินค้าต้นแบบลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จึงไม่เป็นการยากที่จะเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการในปัจจุบัน ปัจจุบัน คนหนุ่มสาว โดยเฉพาะ Gen Y มีความต้องการเป็นผู้ประกอบการมากขึ้น เพราะต้องการทำงานที่เป็นอิสระตามความคิดของตัวเอง เป็นนายของตัวเอง หรือต้องการร่ำรวยอย่างรวดเร็ว และเกษียณอายุก่อนกำหนด แล้วใช้ชีวิตที่เหลือพักผ่อนและท่องเที่ยว
ความเข้มแข็งของภาคบริการจะช่วยสร้างโอกาสมากขึ้น สร้างงานเพิ่มขึ้น และยกระดับรายได้คนไทยให้สูงขึ้น ผมได้ศึกษาประวัติศาสตร์และแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด ของประเทศรายได้สูงเกิดใหม่ พบว่า หนึ่งในบทเรียนจากต่างประเทศในการก้าวข้ามผ่านกับดักรายได้ปานกลาง คือ การผลักดันให้ภาคบริการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ ปัจจุบันสัดส่วนกำลังแรงงานภาคบริการในประเทศต่างๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่แรงงานในภาคเกษตรของประเทศรายได้สูงอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยภาคบริการเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเป็นประเทศเศรษฐกิจรายได้สูง
คอร์รัปชันเป็นตัวชี้วัดด้านหนึ่งของการขาดคุณธรรมในสังคมไทย จากการสำรวจสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย โดยศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ร่วมกับ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ?นิด้าโพล? ซึ่งได้ถามถึงปัญหาวิกฤตทางคุณธรรมที่มีความรุนแรงในสังคมไทย ผู้ตอบแบบสอบถามมองว่า ประเด็นที่วิกฤตมากที่สุด คือ ปัญหาความไม่ซื่อสัตย์สุจริต การทุจริตคอร์รัปชั่น รองลงมา คือ ปัญหาขาดความสามัคคีและความขัดแย้งในสังคม และอันดับสาม คือ ปัญหาขาดจิตสำนึกสาธารณะ ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม
เมื่อมองการพัฒนาเศรษฐกิจไทย ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ผมคิดว่า เราไม่ได้ออกแบบอนาคตอย่างมีวิสัยทัศน์  คนในชาติมองไม่เห็นอนาคตว่า ประเทศชาติจะลงเอยอย่างไรในระยะยาว เพราะมุ่งเน้นแก้ปัญหาเฉพาะหน้า พรรคการเมืองเน้นทำนโยบายระยะสั้นเอาใจประชาชน และเปลี่ยนนโยบายทุกครั้งที่เปลี่ยนรัฐบาล

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2559 ผมได้มีโอกาสกล่าวสุนทรพจน์ (Key note Speech)เรื่อง ?ประเทศไทยกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกวันนี้? ในพิธีมอบโล่เกียรติยศแด่บุคคลดีเด่นในด้านการส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประเทศประจำปี 2559 โดยผมได้วิเคราะห์และนำเสนอแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก ตลอดปี 2559 มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นหลายเหตุการณ์ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา การลงประชามติเพื่อออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร หรือ Brexit การก่อการร้ายในยุโรปอย่างต่อเนื่องความขัดแย้งทะเลจีนใต้ ปรากฏการณ์โรดริโก ดูเตอร์เตแห่งฟิลิปปินส์ เป็นต้น