ข้อพิพาทหมู่เกาะเตียวหยู/เซนกากุหมากกลของอำนาจ

 

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน

ผลประโยชน์จากทรัพยากรน้ำมันเป็นเรื่องอนาคตอีกยาวไกล ผลประโยชน์ที่จับต้องได้ในตอนนี้เป็นที่สนใจมากกว่า มีโอกาสสูงที่ข้อพิพาทหมู่เกาะเตียวหยู/เซนกากุจะนำสู่การเผชิญหน้ากับการโต้ตอบไปมาด้วยคำพูด กองเรือ ผู้ชุมนุม เศรษฐกิจ ฯลฯ แต่เนื่องด้วยทุกฝ่ายต่างเกรงผลเสียมหาศาลหากเรื่องบานปลายจึงพยายามควบคุมให้ความรุนแรงอยู่ในระดับพอเหมาะ ให้การตอบโต้เป็นเพียงหมากกลที่ต่างฝ่ายต่างเดินเพื่อเป้าหมายเบื้องลึกที่หวังไว้

ไม่ว่าจะวิเคราะห์เช่นไร บทสรุปของการวิเคราะห์คือ สหรัฐฯ จะต้องเข้ามาเกี่ยวพันเข้า มาสอดแทรกด้วย จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ หากวันข้างหน้าเมื่อสหรัฐฯ

พูดถึงประเด็นความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะกล่าวถึงบทบาทของสหรัฐฯ ต่อกรณีข้อพิพาทหมู่เกาะเตียวหยู/เซนกากุ (และกรณีข้อพิพาทความขัดแย้งอื่นๆ) ชวนให้คาดการณ์ต่อว่าข้อพิพาทฯ จะไม่สงบลงง่าย ๆ และจะปะทุขึ้นเป็นระยะ ๆ
ในมุมมองของสหรัฐฯ นักวิเคราะห์บางคนเห็นว่า ข้อพิพาทฯส่งผลต่อการบริหารความเป็นพันธมิตรและยุทธศาสตร์ปรับสมดุลในเอเชียแปซิฟิกของสหรัฐฯ ทำอย่างไรสหรัฐฯ จึงสามารถคงความเป็นพันธมิตรที่ดีกับญี่ปุ่นและยึดมั่นในสนธิสัญญาต่างๆ ที่ผูกพันกับญี่ปุ่น ในขณะกำลังเกี่ยวพันกับจีน ราวกับว่าหากสหรัฐฯ เอียงเข้าข้างญี่ปุ่นมากเกินไปจะไม่เป็นประโยชน์

ประเด็นสุดท้ายที่ควรกล่าวถึงคือ ความขัดแย้งหมู่เกาะเตียวหยู/เซนกากุ เอื้อให้สหรัฐฯ มีเหตุเข้าเกี่ยวพัน ทำนองเดียวข้อพิพาทหมู่เกาะปะการังสการ์โบโรห์ ที่ฟิลิปปินส์อาศัยเหตุดังกล่าวเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ บทบาทของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจึงมีอีก 2 ประเด็นร้อนดังกล่าวคอยรองรับไว้ สอดรับกับยุทธศาสตร์หวนคืนสู่เอเชียของสหรัฐฯ


อีกทั้งการความขัดแย้งนี้เกิดขึ้นระหว่างจีนซึ่งเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจลำดับที่ 2 ของโลก กับญี่ปุ่นที่เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจลำดับที่ 3 ย่อมสร้างความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกไม่น้อย ประเทศทั้งหลายย่อมไม่อยากเห็นความขัดแย้งรุนแรงกว่าที่เป็นอยู่ ภาวะเศรษฐกิจโลกจึงถูกนำมาผูกโยงกับหมากทางการเมืองที่สองประเทศกำลังเดินโดยปริยาย

การที่จีนตอบโต้ด้วยมาตรการทางเศรษฐกิจนับเป็นวิธีการที่ชาญฉลาด เพราะจะสร้างแรงกดดันต่อการเมืองภายในญี่ปุ่นและจีนสามารถควบคุมน้ำหนักให้หนักเบาได้ตามความต้องการ

พฤติกรรมข้างต้นสอดคล้องกับการตอบโต้ทางเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในกรอบจำกัด ณ วันนี้การตอบโต้ทางเศรษฐกิจยังไม่ถึงขั้นตัดขาดความสัมพันธ์เศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ รัฐบาลจีนไม่ได้สั่งปิดธุรกิจโรงงานญี่ปุ่นที่ตั้งในประเทศจีน ไม่ได้ห้ามการทำธุรกรรมการเงินกับญี่ปุ่น และในทางกลับกันรัฐบาลญี่ปุ่นไม่ได้ห้ามทำธุรกิจกับจีนเช่นกัน

นักวิเคราะห์เชื่อว่า ข้อพิพาทจะอยู่ในกรอบจำกัดและไม่นำไปสู่ความขัดแย้งทางทหาร ดูจากการที่รัฐบาลจีนส่งไม่ส่งทหารหรือหน่วยของทหารเข้าไปเกี่ยวข้องกับข้อพิพาท เช่น การใช้เรือของ China Marine Surveillance สังกัดกระทรวงคมนาคมและเรือประมงของเอกชนเข้าไปเกี่ยวข้องหรือประท้วงเพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของอธิปไตยเหนือหมู่เกาะและน่านน้ำดังกล่าว เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดกรณีทหารสองประเทศปะทะกัน

ผลเท่าที่ปรากฏในขณะนี้คือ ส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ญี่ปุ่นในจีนกับการบินระหว่างประเทศที่คนสองประเทศลดการเดินทางระหว่างกัน

ช่วงที่ความขัดแย้งเริ่มก่อตัว สื่อ People's Daily กระบอกเสียงของรัฐบาลจีนเคยพูดเป็นนัยว่าจีนอาจใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือตอบโต้ โดยอ้างเหตุผลว่า จีนเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ขณะที่ญี่ปุ่นเป็นตลาดลำดับสามของจีน และญี่ปุ่นเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับจีน นักวิเคราะห์จีนจึงเห็นว่าญี่ปุ่นจะเป็นฝ่ายเสียหายมากกว่า

ถัดจากเรื่องการเมืองภายในประเทศมาสู่ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของสองประเทศ ค่อนข้างชัดเจนว่าจีนตอบโต้ด้วยการใช้มาตรการเศรษฐกิจอย่างจำกัด คล้ายกับกรณีข้อพิพาทหมู่เกาะปะการังสการ์โบโรห์ที่จีนลดการทำธุรกิจท่องเที่ยวและลดการนำเข้ากล้วยหอมและผลไม้อื่น ๆ จากฟิลิปปินส์

จากทั้งกรณีของญี่ปุ่นกับจีน การใช้ประเด็นชาตินิยมเพื่อเรียกคะแนนนิยมหรือเพื่อตำแหน่งทางการเมืองระดับสูงอาจไม่ได้ผลดังหวัง

ประเด็นผลต่อการคัดสรรตำแหน่งสำคัญดังกล่าวไม่ชัดเจน และอาจไม่มีผลถึงขนาดนั้น เรื่องอธิปไตยย่อมเสียให้ใครไม่ได้อยู่แล้ว สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ไม่ว่าจะระดับใด ไม่สามารถมีความเห็นเป็นอื่น

ทำนองเดียวกับการเมืองภายในจีน มีผู้เห็นว่า ประเด็นข้อพิพาทฯ ถูกใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมืองภายใน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องจีนชี้ให้เห็นว่าความขัดแย้งถูกกระตุ้นให้รุนแรงเพื่อหวังผลต่อการเลือกตำแหน่งคณะกรรมการประจำของกรมการเมือง (Politburo Standing Committee) ที่คัดสรรในเดือนพฤศจิกายน บ้างเห็นว่าเกี่ยวพันกับตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการกลางทางการทหาร ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจทางทหารสูงสุดของจีน มีผลทำให้ประธานาธิบดี หู จิ่นเทา ผู้ดำรงตำแหน่งนี้ได้ดำรงตำแหน่งต่อไปอีกหนึ่งถึงสองปี

แท้ที่จริง ข้อพิพาทหมู่เกาะเตียวหยู/เซนกากุไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ถูกจุดชนวนขึ้นมาอีกครั้ง นักวิเคราะห์บางคนเห็นว่าการที่นายกฯ โยชิฮิโกะ โนดะ ทำเช่นนี้ เพราะต้องการเรียกคะแนนความนิยมที่กำลังตกต่ำสุดขีด แต่หลายฝ่ายประเมินว่าไม่ได้ผล และคาดการณ์ว่าผู้ที่จะมาแทนที่คือ อดีตนายกรัฐมนตรีสายเหยี่ยว นายชินโซ อาเบะ หัวหน้าพรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democratic Party)

ย้อนหลังกลับไปที่เดือนกรกฎาคม นายกรัฐมนตรี โยชิฮิโกะ โนดะ ประกาศว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะรับซื้อเกาะเหล่านั้นจากเอกชนเพื่อให้มั่นใจว่ารัฐบาลกลางจะเป็นผู้จัดการเรื่องนี้กับจีน ด้านทางการจีนปฏิเสธไม่ยอมรับการซื้อขายหมู่เกาะดังกล่าวทันที รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศจีนกล่าวว่าสิ่งที่ญี่ปุ่นทำนั้น "ไม่สามารถเปลี่ยนความจริงว่าฝ่ายญี่ปุ่นได้ขโมยหมู่เกาะจากจีน" ประธานาธิบดี หู จิ่นเทาของจีน กล่าวเตือนนายกฯ โนดะแบบตัวต่อตัวว่าการที่รัฐบาลญี่ปุ่นซื้อหมู่เกาะเป็นเรื่องไม่ชอบด้วยหลักนิติธรรม มาถึงจุดนี้รัฐบาลญี่ปุ่นได้อ้างกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะและน่านน้ำอย่างชัดเจนแล้ว

ความขัดแย้งหมู่เกาะเตียวหยู/เซนกากุปะทุขึ้นในเดือนกันยายนที่ผ่านมา เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นประกาศซื้อหมู่เกาะเซนกากุจากเอกชนญี่ปุ่นรายหนึ่งที่อ้างสิทธิ์ดังกล่าว รัฐบาลจีนประท้วงทันทีพร้อมกับกล่าวหาว่าญี่ปุ่นละเมิดข้อตกลงร่วมที่ทำไว้เมื่อปี 1978 ให้สองประเทศสามารถทำประมงในพื้นที่ และกำหนดให้ประเด็นกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่เหนือน่านน้ำบริเวณดังกล่าวให้คนรุ่นหลังตัดสิน

ข้อพิพาทดินแดนระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเหนือหมู่เกาะที่ชื่อว่าเตียวหยูในภาษาจีนหรือเซนกากุในภาษาญี่ปุ่น กำลังจะกลายเป็นเวทีที่มหาอำนาจเผชิญหน้ากัน สาเหตุไม่ใช่เพียงเพราะทรัพยากรน้ำมัน แต่เป็นผลประโยชน์เบื้องลึกบางประการ

ศ.ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.comhttp://www.kriengsak.com