พลังใจ

การตัดสินที่ผิดพลาดและล้มเหลวของ ?คนเก่ง? จำนวนไม่น้อย เกิดขึ้นจากความเชื่อมั่นในตัวเองมากเกินไป จนละเลยที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรอบคอบ ไม่ขอคำปรึกษา ไม่ฟังคำแนะนำจากผู้อื่นก่อนตัดสินใจ แต่คิดเองทำเอง ...ในที่สุด เมื่อตัดสินใจผิดพลาด ไม่เพียงตัวเองรับผล แต่บุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งองค์กรต้องรับผลร้ายไปด้วย 
 
ตัวอย่างของ จิม บาลซิลี (Jim Balsillie) อดีตซีอีโอ ของบริษัท RIM (Research In Motion) ผู้ผลิต Blackberry น่าจะเป็นบทเรียนการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้ดี จากความประมาทคู่แข่ง โดยในปี 2007 แอปเปิ้ลเปิดตัวไอโฟน แทนที่เขาจะรับมือด้วยการสร้างแบรนด์ตัวเองให้แข็งแกร่งในตลาดสมาร์ทโฟน เขากลับเพิกเฉยไม่เชื่อว่าไอโฟนจะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวได้ เพราะฐานลูกค้าของ Blackberry ในตอนนั้นนำหน้าไอโฟนอยู่หลายช่วงตัว เขาใช้เวลาในช่วงนั้น วุ่นวายอยู่กับการพยายามซื้อทีมฮ็อคกี้ 
สิ่งที่เกิดขึ้นในเวลาไม่ถึง 1 ปี ส่วนแบ่งการตลาดของ Blackberry ในสหรัฐฯ ร่วงลงจากร้อยละ 44 เหลือเพียงร้อยละ 9 และหุ้นบริษัทร่วงลงไปถึงร้อยละ 70 ด้วยความประมาท 

ปัจจุบัน ในสังคมมีคำเรียกหญิงวัยกลางคนถึงสูงอายุที่แสดงพฤติกรรม ?เห็นแก่ตัว? ว่า มนุษย์ป้า
 
ในพจนานุกรมออนไลน์ Longdo Dictionary ให้ความหมายคำว่า ?มนุษย์ป้า? ไว้ว่า ?คำที่ใช้เรียกผู้ที่มีพฤติกรรมที่มีลักษณะที่เห็นแก่ตัว ทำสิ่งต่าง ๆ โดยไม่สนใจว่าจะทำให้ผู้อื่นหรือสังคมเดือดร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การแย่งที่นั่งว่างในรถโดยสาธารณะ, การแซงคิวไม่ยอมต่อแถวคอยเวลาขึ้นรถไฟฟ้า, โดยส่วนมากจะเป็นสุภาพสตรีในวัยกลางคนจนถึงสูงอายุ จึงเป็นที่มาถึงคำว่า "ป้า" เริ่มเป็นที่ใช้กันแพร่หลายในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ในช่วงปี 2557?

 
ในการเปิดประชาคมอาเซียนที่จะเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2558 นั้น ประเทศไทยต้องการกำลังคนรุ่นใหม่ที่มิใช่เป็นเพียงแต่เป็นผู้ที่จบการศึกษาระดับสูง (ซึ่งคุณภาพการศึกษานั้นอาจได้มาตรฐานหรือตกหล่นจากมาตรฐานที่นานาชาติยอมรับ) หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญชำนาญด้านภาษาเท่านั้น แต่คุณลักษณะสำคัญประการหนึ่งที่จะนำมาสู่การเป็นผู้นำอย่างได้เปรียบในการเปิดเสรีเวทีการค้าระดับภูมิภาคที่จะมาถึงในอนาคตอันใกล้นี้ ได้แก่ คุณลักษณะแห่งการเป็น ?นักคิดริเริ่มสร้างสรรค์?
อนาคตเป็นของผู้ที่มีความพร้อมมากกว่าเสมอ ผู้ที่มี ?ความคิดริเริ่ม? และมีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ย่อมมีโอกาสก้าวไปก่อน ก้าวไปไกล ก้าวไปสู่อนาคต ที่ประสบความสำเร็จได้มากกว่า
ในทางตรงกันข้ามหากผู้นำหรือประชาชนในชาติ มีอุปนิสัยที่เรื่อย ๆ เฉื่อยชา พึงพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่ รักษาระบบแบบอนุรักษ์นิยม ไม่คิดจะริเริ่มเปลี่ยนแปลงหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่ดีกว่าด้วยตนเอง หากไม่มีใครสั่งหรือไม่มีสถานการณ์บีบบังคับ ย่อมเป็นการยากที่จะปรับตัวเข้ากับอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและยากที่จะไปสู่เป้าหมายวิสัยทัศน์ที่วางไว้เป็นแน่
 
งานวันนี้
ปีที่ 16 ฉบับที่ 715 วันที่ 2-9 ธันวาคม 2557
 
ความแตกต่างระหว่างคนที่ก้าวต่อไปให้สูงขึ้น กับ คนที่ถูกผลักให้ตกต่ำลง อาจขึ้นอยู่กับการตอบสนองเมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น
 
เมื่อหลายปีก่อน (ค.ศ.2009) มีข่าว ๆ หนึ่งดังมากในโลกอินเตอร์เน็ต เมื่อชายคนหนึ่งชื่อ เดวิด คาร์รอล แต่งเพลงสไตล์คันทรี United Breaks Guitar ประชดสายการบินยูไนเต็ดที่ไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับกีตาร์ของเขา ซึ่งบรรทุกมาใต้ท้องเครื่องบิน และถูกเจ้าหน้าที่ขนสัมภาระโยนกล่องกีตาร์ลงบนพื้นลานบิน ทำให้คอกีตาร์ราคาแพงเสียหาย ขณะที่เขาบินจากสนามบินฮาลิเฟ็กซ์ไปยังชิคาโก้

 
งานวันนี้
ปีที่ 16 ฉบับที่ 714 วันที่  25 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม 2557
 
เมื่อเดือนตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา มีข่าวช็อควงการนักลงทุนข่าวหนึ่ง นั่นคือ ข่าววอร์เร็น บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีชื่อดัง นักลงทุนชื่อก้องโลก และซีอีโอแห่งบริษัท ?เบิร์กไชร์ แฮธาเวย์? ชาวอเมริกัน ต้องสูญเงินมหาศาลถึง 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 64,665 ล้านบาท) ภายในระยะเวลาเพียง 2 วัน เนื่องจากการเก็งกำไรผิดพลาด ในหุ้นบริษัทดัง 2 บริษัท ได้แก่ "ไอบีเอ็ม" และ "โค้ก"
 
แหล่งข่าวในวอลล์สตรีทเผยว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้บัฟเฟตต์ ต้องสูญเงินมหาศาลเกิดจากปัญหาการปรับพอร์ตลงทุนในระยะหลังของเขาที่เน้น ?การลงทุนกระจุกตัว? ในหุ้นของ 4 บริษัทยักษ์ใหญ่ คือ ไอบีเอ็ม, โคคา-โคลา, อเมริกัน เอ็กซ์เพรส และเวลล์ส ฟาร์โก มากเกินไป เพราะคาดการณ์ไปว่า จะได้กำไรอย่างแน่นอน จากผลประกอบการของบริษัทเหล่านี้ ในช่วงสิ้นไตรมาสสาม  แทนที่จะเลือกปรับพอร์ตแบบกระจายความเสี่ยง....แต่เขาคาดการณ์ผิด!!
 
นิตยสารแม่และเด็ก
คอลัมน์ ครอบครัวสุขสันต์
 
ปัญหาเด็กและเยาวชนที่เกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบัน ส่วนใหญ่เกิดจากการดำเนินชีวิตโดยยึดตามกระแสสังคม อารมณ์ความรู้สึก ความปรารถนาต่อสิ่งเร้าที่มายั่วยวน จนขาดการยับยั้งชั่งใจ ส่งผลต่อการตอบสนองที่ผิดพลาดและเกิดผลเชิงลบทั้งต่อตนเองและสังคมในภาพรวมตามมาอีกมากมาย ตัวอย่างเช่น การชิงสุกก่อนห่าม ตั้งครรภ์ในวัยเรียน เนื่องจากไม่สามารถทนต่อแรงดึงดูดทางเพศได้ ? นักศึกษาขายบริการทางเพศเพื่อนำเงินไปซื้อโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ เนื่องจากไม่สามารถบังคับใจตนเองให้ทนต่อความต้องการอยากได้อยากมีเหมือนคนอื่น ? นักเรียนต่างสถาบันยกพวกตีกัน เนื่องจากไม่สามารถควบคุมอารมณ์โกรธแค้นที่อีกฝ่ายมาพูดจาดูถูกฝ่ายตน  ฯลฯ
 
ปัญหาที่เกิดขึ้นสะท้อนการขาดความสามารถในการยับยั้งชั่งใจ การประเมินสิ่งผิดสิ่งถูก การเห็นแก่ความสุขระยะสั้น จนละเลยผลร้ายในระยะยาวที่ตามมา หรือเรียกว่า ขาดความสามารถในการบังคับตนเอง

จากการเป็นผู้บริหารองค์กรต่าง ๆ หลายแห่ง ได้มีโอกาสร่วมงานกับคนจำนวนมาก  ผมพบว่า  เพื่อนร่วมงานทุกคน แม้จะมีส่วนดี มีศักยภาพอยู่ในตัว สามารถทำงานในหน้าที่และร่วมงานกับผู้อื่นได้อย่างดี แต่ผมสังเกตเห็นว่า ระหว่างพนักงานที่เริ่มต้นงานพร้อม ๆ กัน ทำงานได้เหมือน ๆ กัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป จะเห็นความแตกต่าง สามารถแยกออกเป็น 2 กลุ่ม ผมเรียกว่า กลุ่มก้าวหน้า กับ กลุ่มอนุรักษ์

"คนทำงานเก่ง แต่นำเสนอไม่เก่ง = ไม่เก่ง
คนทำงานไม่เก่ง แต่นำเสนอเก่ง = เก่ง"

คำกล่าวเหน็บแนมที่หลายคนคงยอมรับว่า เป็นความจริง "ในแวดวงการทำงาน คนส่วนใหญ่มักจะตัดสินคนจากภายนอก" ถ้าพูดเก่ง นำเสนอตนเอง นำเสนองานเก่ง ก็มักจะได้รับการประเมินว่า เก่ง ทั้ง ๆ ที่อาจจะทำงานไม่เก่ง ทำงานไม่เป็น ขาดความรับผิดชอบ ขณะที่คนทำงานได้ดีกว่า มีความรับผิดชอบมากกว่า แต่กลับพูดไม่เป็น นำเสนอไม่เก่ง มักจะถูกประเมินว่า ไม่เก่ง ?
“ถ้าละครไทยไม่มี ‘ตัวอิจฉา’ จะเป็นอย่างไร?”...จากคำถามนี้ หลายคนคงตอบว่า ละครคงไม่สนุก ความรักของพระเอกนางเอกคงจะราบเรียบเกินไป ไม่มีใครมาแข่งขัน ชิงดีชิงเด่น ลอบทำร้าย และคงไม่ได้สะท้อนภาพ ‘นางเอก’ ซึ่งเป็นตัวแทนของ ‘คนดี’ ชนะ ‘ตัวอิจฉา’ ซึ่งเป็นตัวแทนของ ‘คนไม่ดี’ หรือ ธรรมะย่อมชนะอธรรม ในตอนจบให้เรียนรู้กัน
ตัวอิจฉาในละคร คือ ตัวแสดงที่รับบทบาทเป็นผู้มีนิสัยที่เห็นคนอื่นได้ดีแล้วทนดูอยู่ไม่ได้ เป็นตัวแทน ‘ด้านมืด’ ของมนุษย์ ซึ่งในโลกความเป็นจริง เราทุกคนอาจสวมบท ‘ตัวอิจฉา’ ได้อย่างอัตโนมัติ และสามารถ ‘ตีบทแตก’ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ เมื่อไม่พอใจที่เห็นคนอื่น ‘ได้ดี’ กว่าในเรื่องที่ตนอยากจะมี อยากจะเป็น อยากจะได้.. 
ความรู้สึกอิจฉาเกิดขึ้นตามสัญชาตญาณ โดยไม่ต้องมีใครสอน คนที่ปล่อยให้อีโก้เข้าควบคุมจะถูกความอิจฉาริษยาเข้าครอบงำได้ง่าย เพราะมักเอาจุดอ่อนของตัวเอง ไปเทียบกับจุดแข็งของคนอื่น จึงเกิดความรู้สึกไม่พอใจ 


ความหยิ่งบั่นทอนเส้นทางความสำเร็จ แต่ความถ่อมใจช่วยรักษามันไว้...
คนหยิ่งนั้น มักจะคิดว่า ?ฉันรู้หมดแล้ว?  ?ฉันมั่นใจว่าคิดถูก? ?ฉันไม่เคยพลาดเลย? จึงไม่เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ไม่รับฟังคำแนะนำตักเตือน ดึงดันยึดมั่นถือมั่นความคิดตน...ในที่สุดก็ล้มเหลว
มาร์คัม และ สมิธ (Marcum & Smith) ผู้เขียนหนังสือ Economics สำรวจพบว่า มากกว่า 1 ใน 3 ของธุรกิจที่ตัดสินใจผิดพลาด เกิดจากการขับเคลื่อนด้วยอีโก้ บริษัทที่เคยมีชื่อเสียง กลับล้มเหลวลงอย่างรวดเร็ว เพราะความหยิ่งยโสของผู้บริหาร ที่เชื่อมั่นตนเองเกินไป ไม่ฟังคำแนะนำ ลำพองในอำนาจและความสามารถของตน