พลังใจ

         ทรานส์คริปต์บอกว่า คุณเรียนอะไรมาบ้าง ผลการเรียนเป็นอย่างไร แต่ไม่ได้บอกว่า ?คุณทำงานได้หรือไม่??

         ในหน่วยงานต่าง ๆ ย่อมต้องการคนทำงานที่ทำงานได้จริง ช่วยขับเคลื่อนภารกิจขององค์กรได้ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การพิจารณารับสมัคร โดยดูจากใบรับรองผลการศึกษา หรือใบทรานส์คริปต์ (transcript) และการสอบข้อเขียน รวมทั้งสอบสัมภาษณ์อาจไม่ได้ช่วยสร้างความมั่นใจให้องค์กรว่า เมื่อรับคน ๆ นี้เข้าไป จะทำงานได้จริงหรือไม่ จะเข้ากับผู้ร่วมงานได้หรือไม่ จะเป็นตัวส่งเสริมหรือตัวถ่วงความก้าวหน้าขององค์กรกันแน่!!!

         ปัจจุบัน จึงมีองค์กรชั้นแนวหน้าหลายแห่ง เริ่มที่จะไม่พิจารณาผลการเรียนในการจ้างงาน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ กูเกิล ใครที่ต้องการสมัครทำงานกับกูเกิล ไม่ต้องส่ง transcript และคะแนนทดสอบ (test score) ในสมัยเรียนไปให้ เพราะเขามองว่า ไม่มีประโยชน์ในการพิจารณาจ้างงาน เรียกได้ว่า ดูไปก็เท่านั้น..ไม่มีประโยชน์

         จากการเฝ้าสังเกตคนจำนวนนับหมื่น ๆ คนที่ผมได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์ด้วยในวาระต่าง ๆ ทำให้ผมพบว่า คนเรามีอายุ 3 อายุ 

         หนึ่ง อายุเวลา หรือ อายุจริงตามเวลาเกิด และอาจรวมไปถึงอายุงาน ซึ่งเป็นการสะสมประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญชำนาญที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาในการทำงาน

         สอง อายุหน้า คนส่วนใหญ่ชอบให้อายุเวลาไปก่อนอายุหน้า หรือชอบ ?หน้าอ่อน? มากกว่า ?หน้าแก่? 

         "คำโกหกเพียงครั้งเดียว ทำให้ความจริงนับพันมัวหมองไป"
         อัล เดวิด (Al David) อดีตโค้ชและผู้บริหารทีมอเมริกันฟุตบอลที่มีชื่อเสียง ได้กล่าวความจริงข้างต้นไว้
         ในอาชีพการทำงาน การโกหก...และ ?ถูกจับได้? เพียงครั้งเดียว อาจทำให้อนาคตการทำงาน ชื่อเสียงที่อุตสาห์สะสมไว้ด้วยความเพียรพยายาม ?ล่มสลาย? ลง และไม่มีวันรื้อฟื้นกลับมาได้อีกเลย 

     คนดี คือ คนที่เห็นแก่ส่วนรวม มากกว่า ส่วนตัว
     นิยาม ?คนดี? ในมุมมองของผมสรุปง่าย ๆ จะต้องเป็นคนที่ไม่เห็นแก่ตัว แต่คำนึงถึงประโยชน์ของผู้อื่น และประโยชน์ส่วนรวมในมุมที่กว้างที่สุดก่อนเสมอ
     หากทุกแวดวงวิชาชีพ คนทำงานทุกคนยึดนิยามคนดีเช่นนี้ สังคมจะน่าอยู่มากยิ่งขึ้น ค่านิยมการแข่งขัน เพื่อความสำเร็จโดยยึด มูลค่า เป็นหลัก เช่น องค์กรมุ่งทำกำไร ทำยอดขาย กินส่วนแบ่งตลาดให้มากที่สุด โดยไม่ใส่ใจประโยชน์หรือปกป้องคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคมากเพียงพอ หรือ คนทำงาน ทำเพื่อให้ตัวเองได้เงิน ได้ชื่อเสียง ได้ผลตอบแทนมากที่สุด และจะไม่ทำถ้าตัวเองไม่ได้ประโยชน์ โดยไม่ได้ดูว่าจะสร้างความเสียหายต่อผู้อื่นอย่างไร ฯลฯ ย่อมจะเปลี่ยนมาเป็นการคำนึงถึง คุณค่า ของสิ่งที่ทำมากยิ่งขึ้น เช่น ทำสิ่งที่ดี สิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่เอาเปรียบ ยึดมั่นในจรรยาบรรณ เพื่อประโยชน์ของทุกฝ่ายร่วมกัน

วันสำคัญวันหนึ่งในเดือนเมษายนของทุกปี คือ วันครอบครัว ซึ่งตรงกับวันที่ 14 เมษายน เป็นวันที่หลายครอบครัวถือโอกาสวันหยุดสงกรานต์กลับไปเยี่ยมคุณพ่อ คุณแม่ บ้างก็พาลูกหลานไปเยี่ยมคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย เป็นช่วงเวลาของการพักผ่อนและเชื่อมความสัมพันธ์ในวงศ์ญาติไปพร้อมกันในโอกาสเดียว เป็นช่วงเวลาที่สมาชิกครอบครัวญาติพี่น้องพาลูกหลานมาทำความรู้จักกันและกัน ได้รู้ว่าลูกของคนโน้นหลานของคนนี้เป็นอย่างไร หน้าตา นิสัย เป็นอย่างไร ขณะเดียวกันสิ่งที่จะได้ยินตามมามักหนีไม่พ้นคำชมหรือคำตำหนิของผู้ใหญ่ ที่พูดกันในวงญาติทั้งต่อหน้าและหลับหลัง ในทำนองเปรียบเทียบลูกคนนั้นกับลูกคนนี้ หลานคนนั้นกับหลานคนโน้น
พ่อแม่มักจะดีใจหากลูกได้รับคำชมในทางบวก เช่น สวย น่ารัก หล่อ พูดเก่ง เรียนดี ฯลฯ ซึ่งนับเป็นสิ่งดีและพ่อแม่ควรภูมิใจ แต่ขณะเดียวกัน สิ่งที่ควรมองอีกมุมหนึ่งคือ คำชมลักษณะนี้เป็นคำชมบนพื้นฐานของรูปร่างลักษณะภายนอก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่ติดตัวเด็กมา อาจเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ง่ายนัก และอาจทำให้เด็กเข้าใจว่า ผู้ใหญ่มองคุณค่าของเขาเพียงสิ่งภายนอกเท่านั้น

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวไว้ว่า "คนที่ไม่เคยทำอะไรผิดพลาด คือ คนที่ไม่เคยทำอะไรใหม่เลย" (Anyone who has never made a mistake has never tried anything new.)
 
ประวัติคนที่ประสบความสำเร็จในแวดวงต่าง ๆ ทั่วโลกจำนวนมาก มักมีส่วนหนึ่งที่คล้าย ๆ กัน นั่นคือ ประวัติความผิดพลาด ล้มเหลว และต้องเดินอยู่บนเส้นทางอันเต็มไปด้วยอุปสรรคขวากหนาม ก่อนที่จะคว้าความสำเร็จได้

สมัยนี้จบปริญญาตรีไม่พอ ต้องต่อปริญญาโท ปริญญาเอก เพราะถ้ามีความรู้สูง เราย่อมมีโอกาสก้าวหน้ามากกว่า...
สมัยนี้เรียนรู้จากสถานศึกษาไม่พอ ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต ต้องขวนขวานหาความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มเติม ทั้งการเข้าร่วมอบรมสัมมนา เข้าร่วมหลักสูตรต่าง ๆ เรียนรู้เครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพื่อให้ทันโลก มิเช่นนั้นจะตกยุค ไม่สามารถแข่งขันได้...  

"ถ้าการกระทำของคุณสร้างแรงบันดาลใจให้คนภายใต้ ..มีฝันที่ยิ่งใหญ่ขึ้น เรียนรู้ได้เพิ่มขึ้น ทำสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้น และทำหน้าที่ในบทบาทต่าง ๆ ได้หลากหลายขึ้น  ..คุณคือผู้นำ" จอห์น ควินซี อดัมส์ (John Quincy Adams) ประธานาธิบดีคนที่ 6 ของสหรัฐอเมริกาได้กล่าวข้อความข้างต้นไว้ สะท้อนบทบาทสำคัญประการหนึ่งของผู้นำ นั่นคือ ผู้นำต้อง "สร้างคน"
 
ในอดีตเมื่อสังคมเป็นสังคมเกษตรกรรม เราคงเคยได้ยินว่าหลายครอบครัวนิยมมีลูกหลาย ๆ คนด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ คือเพื่อมาช่วยทำงาน แม้ว่าค่านิยมนี้จะเปลี่ยนแปลงไปในยุคปัจจุบันคือ แต่ละครอบครัวมีลูกจำนวนน้อยลง แต่ก็ยังมีหลายครอบครัวที่มีลูกมากกว่าหนึ่งคน อันทำให้เกิดปัญหาที่มักพบบ่อย ๆ คือ ปัญหาพี่น้องทะเลาะกัน อิจฉากัน แย่งของกัน รู้สึกไม่รักกัน ชิงดีชิงเด่นกัน ซึ่งจะพบมากในเด็กวัย 1-5 ปี และในหลายกรณี ปัญหานี้ไม่ได้หายไปเมื่อเด็กโตขึ้น กลับยังคงเป็นปัญหาในความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องที่ทอดยาวไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งคงเป็นสิ่งที่ไม่มีพ่อแม่คนใดปรารถนาให้เกิดขึ้น พ่อแม่จึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงที่มาของปัญหานี้และแก้ไขด้วยวิธีการที่เหมาะสมตั้งแต่วัยเด็ก 

"ชุมชนเล็ก ๆ ยิ่งใหญ่ได้เพราะความสามัคคี และอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ล่มสลายลงได้ เพราะเหตุแห่งความแตกแยก"
 
ซาลลัสต์ (Sallust : 86-34 BC) นักประวัติศาสตร์โรมัน มีชีวิตอยู่ช่วงก่อนคริสตกาล ได้กล่าวสัจธรรมข้างต้นไว้ ซึ่งยังคงเป็นความจริงจนถึงทุกวันนี้