การศึกษา

การดำเนินการปฏิรูปการศึกษานับว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของคนในสังคม และดูเหมือนว่ารัฐบาลพยายามให้ความสำคัญ แต่ผลที่ปรากฏกลับไม่เป็นไปตามที่ฝัน ไม่ว่าจะเป็นสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนของเด็กไทยที่ต่ำลง ความเหลื่อมล้ำระหว่างการศึกษาในเมืองกับชนบท รวมถึงการปรั

ภายหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ ด้านการศึกษาเมื่อวันที่ 25-26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ท่านนายกฯ ได้ประกาศทุ่มงบประมาณหนึ่งแสนล้านบาท ให้แก่การศึกษาสำหรับใช้ในอีก 4 ปีข้างหน้า เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาหนี้ครู การสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารเรียน และระบบสาธารณูปโภคในโรงเรียน การจัดสรรคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา และการลงทุนทำระบบใยแก้วนำแสง สำหรับเครือข่ายการศึกษาทางไกลทั่วประเทศ เป็นต้น งบดังกล่าวจึงถือว่าเป็นงบที่มหาศาลเนื่องจาก ในปีงบประมาณ 2547 ที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการได้รับงบในส่วนนี้เพียง 14,873 ล้านบาท

การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เป็นหลักการส่วนหนึ่งของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ แต่ถึงกระนั้นที่ผ่านมา การดำเนินการของรัฐในการกระจายอำนาจทางการศึกษาสู่ท้องถิ่น อยู่ภายใต้ความเห็นที่ขัดแย้งหลายด้าน ทั้งความเห็นจากผู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการกระจายอำนาจการจัดการศึกษา ผู้รับมอบอำนาจในท้องถิ่น ผู้ได้รับผลกระทบ และผู้ที่มีสิทธิจัดการศึกษา

กฎหมายการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญขับเคลื่อนการศึกษาของประเทศ แต่ที่ผ่านมาพบว่า การออกและบังคับใช้กฎหมายการศึกษาหลายฉบับล่าช้า ข้อมูลจากกลุ่มกฎหมายการศึกษา สำนักนิติกร สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (25 พ.ย. 2549) รายงานว่ากฎหมายและกฎกระทรวงที่สำคัญกว่า 107 ฉบับ มีการบังคับใช้ไปแล้ว 52 ฉบับ อยู่ระหว่างการดำเนินการ 55 ฉบับ ได้แก่ กฎหมายการปฏิรูปการศึกษาจำนวน 42 ฉบับ ดำเนินการเสร็จ 15 ฉบับ การออกกฎกระทรวงตามความใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 จำนวน 23 ฉบับ ดำเนินการเสร็จ 12 ฉบับ การออกกฎกระทรวงตามความใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.

เมื่อวันที่ 25-27 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อปรับปรุงการทำงานด้านการศึกษา เฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในที่ประชุม นายกฯ ได้รับปากจะพัฒนาและแก้ปัญหาหลายเรื่อง และจะจัดสรร

หากพิจารณาสถานการณ์การเมืองในขณะนี้พบว่า รัฐบาลพยายามในการแย่งชิงพื้นที่ทางความคิดของประชาชน โดยอ้างว่าการเลือกตั้งเป็นกติกาประชาธิปไตย แต่ข้ออ้างดังกล่าวถูกเพียงเสี้ยวเดียวเท่านั้น เพราะละเลยความจริงอีกด้านของความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง นั่นคือ กระบวนการที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม มีสิทธิในการแสดงความคิดเห็น และสามารถแสดงออกถึงจุดยืนทางการเมืองของตนได้ตลอดเวลา

การจัดกิจกรรมรับน้องใหม่ของนิสิตนักศึกษาจากแต่ละสถาบันอุดมศึกษาเป็นข่าวเกรียวกราว สะท้อนปัญหาและสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงให้เห็นเป็นประจำทุกปี ถึงกระนั้นยังมีข้อถกเถียงแยกออกเป็นสองฝ่ายอยู่เสมอ คือฝ่ายหนึ่งเห็นด้วยว่ากิจกรรมรับน้องยังมีข้อดีหลายประการ และควรธำรงรักษาไว้ต่อไป ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่เห็นว่ากิจกรรมรับน้องที่จัดกันอยู่จะให้ประโยชน์แก่ผู้ที่เพิ่งเอ็นทรานซ์เข้าไปเรียนในระดับอุดมศึกษาแต่อย่างไร

จากมติคณะรัฐมนตรี 8 พฤศจิกายน 2548 ระบุว่า ldquo;การถ่ายโอนบุคลากรด้านการศึกษาให้อยู่บนพื้นฐานความสมัครใจrdquo; เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ที่ผ่านมา คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กกถ.)

การถ่ายโอนอำนาจการศึกษาสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กลับสู่ความสนใจของสังคมอีกครั้ง เมื่อคณะรัฐมนตรีรักษาการได้มีมติให้มีการถ่ายโอนได้ในบางส่วน ขณะที่หลายส่วนให้มีการทบทวนกันใหม่การดำเนินการถ่ายโอนโรงเรียนแก่ อปท. สะท้อนแนวคิดในการดำเนินงานของรัฐบาลดังนี้