March 2014

บทสัมภาษณ์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ รายการ "ห้องรับแขก" FM 98.5 Mhz วันที่ 28 มีนาคม 2557

บทสัมภาษณ์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ รายการ "ห้องรับแขก" FM 98.5 Mhz สถ

บทสัมภาษณ์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ รายการ "ห้องรับแขก" FM 98.5 Mhz วันที่ 27 มีนาคม 2557

บทสัมภาษณ์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ รายการ "ห้องรับแขก" FM 98.5 Mhz สถ

โครงการแสตมป์อาหาร : สวัสดิการด้านอาหารสำหรับประชาชนอเมริกัน

ภายหลังการประกาศสงครามกับความยากจนของประธานาธิบดีคนที่ 36 ของสหรัฐฯ ลินดอน บี จอห์นสัน ในปี 1964 เห็นได้ชัดว่าปัญหาเรื่องความยากจนของคนในประเทศได้กลายเป็นประเด็นที่รัฐบาล ใ

บทสัมภาษณ์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ รายการ "ห้องรับแขก" FM 98.5 Mhz วันที่ 26 มีนาคม 2557

บทสัมภาษณ์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ รายการ "ห้องรับแขก

บทสัมภาษณ์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ รายการ "ห้องรับแขก" FM 98.5 Mhz ออกอากาศวันที่ 25 มีนาคม 2557

บทสัมภาษณ์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ รายการ "ห้องรับแขก" fm 98.5 Mhz สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ออกอากาศวันที่ 25 มีนาคม 2557

ควรตรากฎหมายให้รัฐบาลต้องทำงบประมาณสมดุลเท่านั้นหรือไม่

จากบทความก่อนหน้านี้ ผมได้พิจารณาแนวคิดสำหรับปฏิรูปประเทศไทยจากนักวิชาการไทยในอเมริกา 1 ใน 15 ด้าน คือ การตั้งเพดานหนี้ที่แน่นอนเพื่อใช้ในการรักษาวินัยทางการคลัง ส่วนในบทความนี้ ผมจะพิจารณาอีกแนวคิดหนึ่ง คือ ?การออกกฎหมายให้รัฐบาลจัดทำงบประมาณสมดุลเท่านั้น?

การจัดทำงบประมาณสมดุลในทางเศรษฐศาสตร์นั้นสอดคล้องตามแนวคิดของเศรษฐศาสตร์ที่เน้นการจัดการด้านอุปทาน (Supply-side economics) และสำนักคลาสสิก (Classical economics) ที่เน้นเรื่องกลไลตลาด โดยให้ความสำคัญกับการดำเนินนโยบายการคลังแบบสมดุลและรัฐบาลไม่ควรไปเข้าไปแทรกแซงกลไกตลาด

นักเศรษฐศาสตร์ที่เน้นการจัดการด้านอุปทาน มองว่าการแทรกแซงของรัฐนั้นทำให้ตลาดล้มเหลว (Market failure) มากขึ้น หรือจากที่ไม่มีปัญหา กลับจะทำให้เกิดปัญหาขึ้น เนื่องจากกลไกภาครัฐนั้นล้มเหลว (Government failure) ซึ่งเป็นผลจากการมีผลประโยชน์ทับซ้อน เช่น การสนับสนุนบางอุตสาหกรรมที่ไม่เหมาะสม หรือการทำเพื่อหวังคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง หรือมุ่งเน้นนโยบายระยะสั้นเป็นสำคัญ เป็นต้น

อวดอ้างสรรพคุณ'อย่า'เกินจริง

โลกวันนี้วันสุข
คอลัมน์ : HR Tips

คนทำงานที่เพื่อนร่วมงานมักลงมติว่า "น่าเบื่อ" ประเภทหนึ่งคือ พวกคุยโม้ โอ้อวดเรื่องของตัวเอง หรือไม่ก็ชอบอวดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอวดเก่ง อวดรวย อวดครอบครัว อวดสวย อวดหล่อ และอวดทุกๆอย่างที่อวดได้ เพื่อให้คนยอมรับและชื่นชม

นักวิจัยวิเคราะห์ว่า โดยธรรมชาติมนุษย์ให้ความสนใจกับตัวเอง มักจะชอบ พูดเรื่องของตัวเองมากกว่าฟังเรื่องของคนอื่น กล่าวกันว่าประมาณร้อยละ 40 ของคำพูดประจำวัน มักเป็นการเล่าเรื่องตัวเองให้คนอื่นฟังว่า เราคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร แต่คนที่โอ้อวดมักไปไกลกว่านั้น เพราะมีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ (low self-esteem) จึงพยายามพิสูจน์ตนเองด้วยการแสดงพฤติกรรมโอ้อวดเพื่อให้คนอื่นยอมรับ

ควรกำหนดเพดานหนี้ที่แน่นอนเพื่อรักษาวินัยทางการคลังหรือไม่


แหล่งที่มาของภาพ : http://www.arcuslending.com/wp-content/uploads/2012/08/Debt-2.png

เดลินิวส์
คอลัมน์ ?แนวคิด ดร.แดน?

ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ผมได้รับ e-mail เรื่อง ?แนวคิดสำหรับปฏิรูปประเทศไทยจากนักวิชาการไทยในอเมริกา? ซึ่งกลุ่มนักคิดและนักวิชาการดังกล่าวได้รวมตัวกันระดมสมองเพื่อจัดทำข้อเสนอการปฏิรูปประเทศไทยจำนวน 15 ด้าน

ผมเห็นว่าข้อเสนอแนะดังกล่าวเป็นประเด็นที่น่าสนใจ ผมจึงตั้งใจนำข้อเสนอแต่ละข้อมาพิจารณาอย่างละเอียด โดยในบทความนี้ ผมจะพิจารณา 1 ใน 15 ข้อเสนอข้างต้น คือ ข้อเสนอที่ระบุว่า ?ตั้งเพดานหนี้ที่แน่นอนเพื่อใช้ในการรักษาวินัยทางการคลัง?

ข้อเสนอดังกล่าวน่าจะเกิดจากความกังวลว่า ระดับหนี้สาธารณะของประเทศไทยอาจจะสูงขึ้นจนถึงระดับที่เป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจของประเทศ หากรัฐบาลยังดำเนินนโยบายที่สร้างภาระต่องบประมาณในอนาคต อาทิ โครงการรับจำนำข้าว และโครงการลงทุนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะการออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กู้เงินเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ 2 ล้านล้านบาท

หากพิจารณาข้อเสนอเบื้องต้นของกลุ่มนักวิชาการไทยในอเมริกาที่ระบุให้กำหนดเพดานหนี้ที่แน่นอน ข้อเสนอดังกล่าวยังไม่ได้ระบุชัดเจนว่า เพดานหนี้ดังกล่าวนั้นมีความหมายอย่างไรและใช้อะไรเป็นตัวชี้วัด

เหตุใดเศรษฐกิจนอกระบบในสเปนจึงมีขนาดใหญ่ขึ้น


แหล่งที่มาของภาพ : http://seriouslyspain.com/wp-content/uploads/2012/11/spanish-recession-2014.jpg

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน

เศรษฐกิจนอกระบบ(Informal Economy) ตามนิยามขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา(OECD) คือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ไม่มีการบันทึกไว้

ในระบบบัญชีประชาชาติ หรืออยู่นอกระบบบัญชีประชาชาติ ภาคเศรษฐกิจที่อยู่นอกระบบจึงไม่ถูกเรียกเก็บภาษีจากรัฐ และไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเหมือนภาคเศรษฐกิจที่อยู่ในระบบ

โดยปกติ โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีสัดส่วนของเศรษฐกิจนอกระบบน้อยกว่าประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนา แต่ผลกระทบจากวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรปตั้งแต่ปี ค.ศ.2009 ที่ผ่านมา ส่งผลทำให้สเปนต้องเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอยอันนำมาซึ่งปัญหาทางเศรษฐกิจหลายประการ วิกฤติเศรษฐกิจยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจของสเปน โดยทำให้เศรษฐกิจนอกระบบขยายตัวขึ้นเป็นร้อยละ 24.6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในปี ค.ศ. 2012

ลาป่วยแบบจริงใจ ก้าวไกลกว่า

โลกวันนี้วันสุข
คอลัมน์ : HR Tips

ไม่มีใครชอบถูกหลอก ไม่มีใครชอบคนที่ไม่ซื่อสัตย์ ไม่จริงใจ เมื่อใดก็ตามที่ "จับโกหก" ได้ แน่นอนว่าจะต้อง ถูกจัดการ!!

บทสรุปข้างต้นนี้คงไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่เป็นจริง เพราะถ้ามีใครมาทำกับเราเช่นนี้เราย่อมไม่พอใจอย่างแน่นอน แต่หากลองคิดมุมตรงข้าม ในการทำงาน เรา "ซื่อสัตย์" เพียงพอหรือยัง???

คนทำงานจำนวนไม่น้อยยืนยันว่าตนรับผิดชอบในหน้าที่เป็นอย่างดี ยินดีทำงานหนัก ทำล่วงเวลา ไม่ได้เอาเปรียบองค์กร เรียกว่าทำงานคุ้มค่ากับค่าตอบแทนอย่างแน่นอน

สร้างทีมแกร่งต้องเลียนแบบ'ผึ้ง'

โลกวันนี้วันสุข
คอลัมน์ : HR Tips
 
"คนเก่งที่ทำงานเป็นทีมร่วมกับคนอื่นไม่ได้มักไม่เป็นที่ต้องการ เพราะความสำเร็จของงานคือความสำเร็จของทีม ไม่ใช่ของคนคนเดียว"
 
การพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมจึงเป็นเรื่องที่คนทำงานทุกคนต้องเรียนรู้ และแบบอย่างที่เราสามารถ เรียนรู้และเลียนแบบได้ ได้ แก่ ชีวิตสัตว์ตัวเล็กๆที่เรียก
 
"ผึ้ง"ว่า สัตว์ที่ทำงานเป็นทีมได้อย่าง "สุดยอด" แห่งความมีประสิทธิภาพ