January 2014

ฐานของความกินดีอยู่ดีของประเทศ


แหล่งที่มาของภาพ : http://khaosarnboston.com/wp-content/uploads/2013/12/woman-preparing-thai-food-at-floating-market.jpg

 

เดลินิวส์
คอลัมน์ ?แนวคิด ดร.แดน?

ประชากรหลายล้านคนในโลกยังคงมีความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก เนื่องจากปัญหาความยากจน การขาดแคลนอาหารและน้ำสะอาด สภาพแวดล้อมในการอยู่อาศัยที่ไม่เหมาะสม ในขณะที่ประชากรในหลายประเทศต้องเผชิญภาวะสงครามจนต้องกลายเป็นผู้อพยพ

สำหรับประเทศไทย แม้ว่าสัดส่วนของประชากรที่ยากจน (ความยากจนแบบสัมบูรณ์) มีแนวโน้มลดลง แต่ปัญหาการกระจายรายได้กลับไม่ดีขึ้น (ความยากจนแบบสัมพัทธ์) ประชาชนส่วนหนึ่งจึงยังมีความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก ในขณะที่สังคมไทยยังมีความเสี่ยงจากปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด สิ่งแวดล้อม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งทางการเมืองที่มีแนวโน้มไปสู่ความรุนแรงมากขึ้น

ข้อเสนอทฤษฎีใหม่ทิศทางการตลาดในทศวรรษหน้า

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน

ธุรกิจกับสภาวะทางการแข่งขันเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมาทุกยุคทุกสมัย จึงมีความจำเป็นที่ธุรกิจต้องพัฒนากลยุทธ์การตลาดใหม่ๆเพื่อสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีพลวัตเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอได้อย่างทันท่วงที และเพิ่มความได้เปรียบเหนือคู่แข่งมากขึ้น โดยจุดมุ่งหมายสุดท้ายคือการเพิ่มยอดขายและผลกำไรให้เป็นไปตามเป้าหมาย

เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้รับเชิญไปปาฐกถาในงาน Asia Pacific Research Conference (APRC Conference 2013) ที่จัดโดยสมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย และได้มีโอกาสนำเสนอทิศทางการตลาดที่ในสายตาและความคิดของผม ผมวิเคราะห์แล้วและขอนำเสนอทฤษฎีใหม่ในทางการตลาดว่าจะเป็นทิศทางเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญของธุรกิจในทศวรรษหน้า ทิศทางการตลาดทั้ง 9 ประการ มีดังนี้

นโยบายการศึกษาในฟิลิปปินส์ กุญแจสู่ศักยภาพทางภาษาอังกฤษ

บ้านเมือง

กุญแจสำคัญที่ทำให้ประชาชนชาวฟิลิปปินส์ มีศักยภาพทางภาษาอังกฤษ คือ นโยบายการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งในปัจจุบันถึงแม้ว่าสหรัฐอเมริกาไม่ได้เข้ามามีบทบาทในระบบการศึกษาของฟิลิปปินส์เหมือนอย่างในอดีต ทักษะความรู้ทางภาษาอังกฤษเปรียบเสมือนมรดกที่สหรัฐได้ทิ้งไว้ผ่านรูปแบบของระบบการศึกษาในฟิลิปปินส์ โดยบทความนี้จะอธิบายถึงนโยบายการศึกษาในประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งแต่สมัยที่สหรัฐปกครองฟิลิปปินส์ จนปัจจุบันที่ฟิลิปปินส์สามารถบริหารระบบการศึกษาได้โดยปราศจากอิทธิพลของสหรัฐว่ามีความเหมือนและแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด ในประเทศฟิลิปปินส์

Advantages and Disadvantages of the Philippines Labour Export Policy

      Following a 1970s global recession and resulting economic crisis in the Philippines, unemployment became a crucial problem, the unemployment rate rising to 11.8 percent in 1970, which was very high in the history of the country. For this problem, former president Ferdinand Marcos saw that the export of Filipina labour would create an opportunity to reduce unemployment and solve the economic crisis. The Philippines Labour Export Policy was an important policy to decrease the unemployment ratio and developed the Philippines economically from the past to the present. In this article, I will analyze the advantages and disadvantages of this policy, along with lessons that Thailand can also learn from it.

บทเรียนจากการจัดการปัญหาหนี้สาธารณะของสหภาพยุโรป


แหล่งที่มาของภาพ : http://static.guim.co.uk/sys-images/Guardian/Pix/pictures/2012/7/31/1343737731879/European-Central-Bank-008.jpg

การจัดการปัญหาหนี้สาธารณะของสหภาพยุโรป (EU) จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี ซึ่งมีประเทศที่ขอรับการช่วยเหลือทางการเงินเริ่มต้นจากประเทศ กรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน และไซปรัส โดยเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2553 รัฐมนตรีคลังของสหภาพยุโรปได้อนุมัติกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินของยุโรปมูลค่า 4.4 แสนล้านยูโร และประเทศที่ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินต้องดำเนินการตามมาตรการรัดเข็มขัด รัฐบาลต้องควบคุมไม่ให้การขาดดุลการคลังเกินกว่าร้อยละ 3 ของ GDP แต่ ณ ขณะนั้นประเทศกรีซมีการขาดดุลการคลังสูงถึงร้อยละ 13.6 ของ GDP

'หยิ่ง'...จุดจบของคน'มีดี'

โลกวันนี้วันสุข
คอลัมน์ : HR Tips

เมื่อใดที่ความหยิ่งเริ่มเข้าครอบงำ เมื่อนั้น "จุดเริ่มต้น" ของ "จุดจบ" ในชีวิตก็ได้เริ่มต้นขึ้นแอนดริว ไบรต์ (An drew Bryant) ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาภาวะผู้นำ ได้วิเคราะห์ไว้อย่างน่าสน ใจว่า ผู้นำที่มีความหยิ่ง (Ar rogant Leadership) มักจะเริ่มต้นจากการเป็นคนธรรมดาๆที่มีความปรารถนา และความทะเยอทะยานอย่างแรงกล้าที่จะประสบความสำเร็จ จึงพยายามผลักดันตนเอง มุมานะ ต่อสู้แข่ง ขัน ฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ อด ทนต่อคำสบประมาท เสียงวิพากษ์วิจารณ์ มุ่งมั่นยืนหยัดจนตนเองเป็นผู้ชนะ เพื่อให้คนอื่นยอมรับและตระหนักในความเก่งกาจของตน

สร้าง "สมดุลวิถี" สู่ "อารยสมดุลวิถี" ดีกว่า "เหวี่ยงลูกตุ้ม" กระแทกใส่กัน!!

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน

สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่เป็นอยู่ ณ ขณะนี้ เป็นเหมือนภาพยนตร์เรื่องเดิมที่ฉายซ้ำแต่เปลี่ยนตัวแสดง เป็นวงจรการทำลายล้าง?คู่ขัดแย้ง"

ที่แท้จริงแล้ว ?ไม่สามารถ? ยุติได้ด้วยแรงกดดันของมวลมหาประชาชน เพราะแต่ละฝ่ายต่างก็มี ?มวลมหาประชาชน? ที่พร้อมออกจากบ้านมาแสดงพลังสนับสนุนในจำนวนนับล้านคนได้เช่นเดียวกัน!!

แนวทางในการรับมือกับวิกฤตการณ์ทางอาหารของประเทศสิงคโปร์


แหล่งที่มาของภาพ :  http://2.bp.blogspot.com/-JhzNZsUgkJ4/UPCXnUgWh_I/AAAAAAAAA0A/tA6WzNif48Y/s1600/Food-Crisis-Image_zps9585d809.gif

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน

ณ ปัจจุบัน ประเทศสิงคโปร์ ให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องความมั่นคงทางอาหารภายในประเทศมากยิ่งขึ้น อันเนื่องมาจากแรงกดดันจากปัจจัยหลายๆ ประการ

อาทิ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก การลดลงของพื้นที่และแรงงานภาคเกษตรกรรม การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรภายในประเทศ เป็นต้น และจากปัจจัยดังกล่าวส่งผลทำให้ประเทศสิงคโปร์ต้องดำเนินนโยบายในการพัฒนาประเทศเพื่อรับมือต่อวิกฤตการณ์ทางอาหารที่อาจเกิดขึ้นในโลกอนาคต เพราะถึงแม้ว่าประเทศสิงคโปร์จะเป็นประเทศที่ร่ำรวยพอที่จะนำเข้าอาหารจากต่างประเทศ กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของอาหารทั้งหมด แต่หากระยะยาวสิงคโปร์ไม่สามารถลดการพึ่งพิงอาหารจากต่างชาติได้ ประเทศสิงคโปร์อาจจะต้องเผชิญกับภาวะความไม่มั่นคงทางอาหารที่นำไปสู่วิกฤตการณ์อาหารภายในประเทศในยามวิกฤตได้ในที่สุด

ชีวิตคนไทยก่อนเกิดและหลังตายปี 2020

หนุ่มสาวที่คิดจะสร้างครอบครัวใหม่ ได้โอกาสหลายปีก่อนแต่งงาน เข้าหลักสูตรของโรงเรียนพ่อแม่เพื่อเตรียมตัวอย่างมีองค์ความรู้มีทักษะ ต่างๆ และบุคลิกภาพที่เอื้อเป็นพ่อแม่ที่มีคุณภาพ